แสดงกระทู้
|
หน้า: [1] 2 3 ... 5
|
2
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือน เรื่องการหาอนุกรมการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:10:22 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 23.10 ที่หอพัก
เมื่อเลือกTh232 จะเห็นว่าแท่งกราฟสีแดงจะลดลงอย่างลวดเร็วและแท่งกราฟPb208จะพุ่งสูงขึ้นและtimestep 1.39 เมื่อเลือก u238 จะเห็นว่ามีตัวธาตุเพิ่มขึ้น u234 Th230 Ra226 Pb210 Pb206 กราฟจะพุ่งขึ้นทางด้าน pb210 ตามลำดับ และจะค่อยๆลดลงแต่แท่งกราฟจะไม่สูงขึ้นจนสุด แต่ธาตุ Pb206 จะใม่ลง เมื่อ เลือกPu2411 จะเห็นว่ามีธาตุ Pu241 Am241 Np237 U233 Th229 เมือกดปุ่ม Animate จะเห็นว่ามีการพุ่งขึ้นของกราฟทั้งหมดโดยเรียงตามลำดับ จากนั้นจะค่อยลดลง
|
|
|
3
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: โครงการแมนแฮตตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:08:11 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 23.08 ที่หอพัก
โครงการแมนแฮตตัน เป็นความพยายามในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอเมริกา โดยได้ออกแบบและทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ 3 ลูกได้แก่ 1.ลูกแรกในแผนปฏิบัติการ ทรินนิที 2.ลูกที่ 2 คือระเบิดนิวเคลียร์ของลิตเติลบอย 3.ลูกที่ 3 คือระเบิดนิวเคลียร์ของแฟตแมน โดนรวบรวมข้อมูล ทฤษฏีต่างๆ จากนักวิทยาศสาสตร์
|
|
|
4
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: นิวเคลียร์และการใช้ประโยชน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:06:47 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 23.06 ที่หอพัก
ประโยชน์ของนิวเคลียร์ ด้านการแพทย์ ใช้ในการวินิจฉัยโรคต่างๆ รักษาโรค และทำลายเชื้อโรค ด้านการเกษตร ใช้ในการถนอมอาหาร วิจัยทางการเกษตร ใช้ปรับปรุงพันธุ์พืช ด้านอุตสาหกรรม ใช้ควบคุมความหนาแน่นของผลิตภัณฑ์ ใช้ตรวจหาการรั่วไหลของน้ำมัน ด้านพลังงาน ใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ เป็นแหล่งพลังงานในเรือเดินสมุทร และยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกมากมาย
|
|
|
5
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ไอโซโทป
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:05:25 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 23.05 ที่หอพัก
ไอโซโทปคืออะตอมของธาตุเดียวกันมีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่มีจำนวนนิวตรอนต่าง กัน ธาตุไฮโดรเจนมีสามชนิด ไฮโดรเจนชนิดที่หนึ่งไม่มีนิวตรอนอยู่ในบริเวณนิวเคลียสเลย เราเรียกไฮโดรเจนชนิดนี้ว่าไฮโดรเจนธรรมดา ไฮโดรเจนชนิดที่สองมีนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียสหนึ่งนิวตรอน เรียกว่าไฮโดรเจนหนักหรือดิวทีเรียม ไฮโดรเจนชนิดที่สามมีนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียสสองนิวตรอน เรียกชื่อว่า Trituum ดิวทีเรียมและทริเซียมเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน
|
|
|
6
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หญิงเหล็กกับเรเดียม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:03:49 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 23.03 ที่หอพัก
มารี สโกล์ดอฟสกา เกิดในบ้านเลขที่ 16 ถนนเฟรตา กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ พิพิธภัณฑ์ แสดงผลงานและชีวิตของมารี กูรี มารี กูรี เป็นหนึ่งในคณะผู้บุกเบิกในการวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสีเธอเป็นผู้ค้นพบ เรเดียม ซึ่งเปล่งกัมมันตภาพรังสีออกมาโดยธรรมชาติในขณะที่อะตอมแตกตัว เธอศึกษาค้นคว้าวิจัยในยุคที่ยังไม่มีใครรู้จักมหันตภัยของกัมมันตภาพรังสี ต้องดิ้นรนทำงานด้วยความขาดไร้ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนสนับสนุน หรือการยอมรับนับถือจากสังคมรอบด้าน ทำงานหนักสายตัวแทบขาดทั้งๆที่ป่วยไข้ในระดับที่ไม่มีมนุษย์คนไหนทานทนได้ และต้องฝืนกระแสความเชื่อประจำยุคนั้นที่ว่า ผู้หญิงไม่มีทางเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ ในท้ายที่สุด มารีกูรี ก็ประกาศศักดิ์ศรีนักวิทยาศาสตร์ให้ผู้คนประจักษ์กันทั่วโลก
|
|
|
7
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์นิวเคลียร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:02:16 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 23.02 ที่หอพัก
สารกัมมันตภาพรังสี คือ ธาตุที่สามารถให้พลังงานออกมาในรูปของอนุภาค ได้แก่ แอลฟา บีต้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น รังสีแกมมา เกิดจากการที่มีนิวเคลียสของธาตุเหล่านี้อยู่ในสภาวะไม่เสถียรนิวเคลียส เหล่านี้จะปลดปล่อยพลังงานออกมาจึงกระทั่งนิวเคลียสเหล่านี้อยู่ในสภาวะ เสถียร ชนิดของรังสีมี3ชนิดคือ 1.รังสีแอลฟา ประจุไฟฟ้าเป็นบวก 2.รังสีแกมมา ประจุไฟฟ้าเป็นกลาง 3.รังสีบีตา ประจุไฟฟ้าเป็นลบ องค์ประกอบของนิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
|
|
|
8
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: เลเซอร์ลำแสงที่มีระเบียบ Laser ฟิสิกส์ 2000
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 10:55:08 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 22.54 ที่หอพัก
แหล่งกำเนิดแสง - แหล่งกำเนิดเป็นแสงเลเซอร์ ลำคลื่นจะมีระเบียบสูงมาก ขนาดของลูกคลื่นเท่ากันหมด ส่วนแสงอื่นๆ มีสีหลายสีคละเคล้ากันไป และขนาดของลูกคลื่นไม่ค่อยจะเท่ากัน
|
|
|
9
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: แบบจำลองอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 10:50:07 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.49 ที่หอพัก
หลักการของทอมสันคือ 1. อะตอมเป็นรูปทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมเป็นประจุบวกและมีอิเล็กตรอนเป็นประจุลบ กระจายอย่างสม่ำเสมอโดยปริมาณของประจุลบและบวกจะเท่ากัน 2. ทอมสันได้เสนอวิธีการจัดเรียงอะตอมให้มีความเสถียรมากที่สุด
|
|
|
10
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: Niels Bohr
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 10:48:15 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 22.48 ที่หอพัก
โบว์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1907 เกี่ยวกับเรื่องราวความดึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้ โบว์ได้รับรางวัลผลงานเหรียญทองจากสมาคมวิทยายศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาปีค.ศ. 1911 เกี่ยวกับเรื่องของอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จสมดังใจ หลังจากรับปริญญาแล้วได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ และพบกับเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน ทั้งสองได้ร่วมทำการทดลองค้นคว้า ในห้องทดลองคาเวนดิช ม.เคมบริดจ์ และต่อมาได้ค้นคว้าร่วมกับ เออร์เนสรัทเธอร์ ฟอร์ด ม. แมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม และตารางธาตุทั้งหมด
|
|
|
11
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 10:47:10 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 22.47 ที่หอพัก
ผลการทดลองเป็นดังนี้ Fe มีZ=26 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d6 Zn มีZ=30 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 Ge มีZ=32 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p2 Kr มีZ=36 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p6 Sr มีZ=38 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p6 5s2 Zr มีZ=40 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p6 5s2 4d2 Cd มีZ=48 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p6 5s2 4d10 TeมีZ=52 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p6 5s2 4d10 5p4
|
|
|
12
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง โครงสร้างอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 10:46:01 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 22.45 ที่หอพัก
นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาและเจาะลึกข้อมูลที่มาจากสเปกตรัมของไฮโดรเจนอะตอมมากเป็นพิเศษ มากกว่าอะตอมของธาตุอื่น เพราะแม้ดวงอาทิตย์มีธาตุชนิดต่างๆจำนวนมากมาย แต่ธาตุที่พบมากที่สุด คือ ธาตุไฮโดรเจน ชั้นบรรยากาศบนดวงอาทิตย์เพียง 2 ชั้นเท่านั้น ที่ มนุษย์สามารถมองเห็นได้ คือ ชั้นโฟโตสเฟียร์กับชั้นโครโมสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศที่เย็นเพียงพอสำหรับธาตุไฮโดรเจนที่สามารถมีอยู่ได้ในรูป อะตอม และตรงนี้นี่เองที่เรามองเห็นสเปกตรัมการดูดกลืนและการคายคลื่นแสงของไฮโดรเจนอะตอม
|
|
|
14
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: วีดีโอ เรื่อง ฟิสิกส์ควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:22:27 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.22 ที่หอพัก
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อว่า แม็กฟลักช์ เรียกกฎใหม่นี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม มันคือการค้นพบที่สำคัญทฤษฎีนี้เกิดในปี 1900 เพราะว่าเกิดการทำงานด้านฟิสิกส์มาก มีการค้นพบปรากฎการณ์ใหม่ที่ละเมิดกฎของนิวตัน ตัวอย่างเช่น มาตาม กิวรี ปรับปรุงสิ่งที่เรียกว่า เรเดียม เรเดียมมีคุณสมบัติพิเศษในการเรืองแสง อนุภาคเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า เพราะว่าพลังงานเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า ในปี 1900 คนคิดว่าสามารถตัดพลังงานไฟฟ้าได้ไม่รู้จบ แม็กฟลังก์บอกว่าพลังงานเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม เรียกว่า ควอนตัม แสงมาจากกลุ่มก้อน สสารมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น
|
|
|
15
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง Photoelectric effect
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:21:25 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.21 ที่หอพัก
ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตรอน ค.ศ.1887 เฮิร์ซได้ทดลองฉายรังสีอุลตราไวโอเลตไปกระทบบนผิวโลหะ พบว่าเกิดอิเล็กตรอนอิสระที่โลหะนั้น เรียกอิเล็กตรอนนี้ว่า โฟโตอิเล็กตรอน เมื่อเฮร์เปลี่ยนความถี่ของแสงที่ฉายตกกระทบบนโลหะพบว่ เมื่อลดความถี่ของรังสีให้น้อยลงถึงค่าๆหึ่งซึ่งพอดีที่จะทำให้อิเล็กตรอนใน อะตอมหลุดเป็นอิสระได้ ถ้าความถี่น้อยกว่าค่าค่านี้จะไม่เกิดโฟโตอิเล็กตรอนขึ้น ความถี่นี้เรียกว่า ความถี่ขีดเริ่ม
|
|
|
16
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:20:21 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.20 ที่หอพัก
เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการฟิสิกส์โลก เขาได้รับรางวัลโนเบล สายฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ.1932 ขณะมีอายุเพียง 31 ปี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "The Uncertainty Principle" หรือ หลักความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญหลักการหนึ่งของทฤษฎีควอนตัม และเป็นส่วนที่ทำให้ไอน์สไตน์ ไม่สู้จะสบายใจ เพราะไอน์สไตน์ไม่ชอบความไม่แน่นอน และเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการรวมแรงพื้นฐาน 4 ชนิด เข้าด้วยกัน
|
|
|
17
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การเคลื่อนย้ายมนุษย์ (Teleportation)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:19:51 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.19 ที่หอพัก
ถึงแม้การทดลองจริงยังไม่ได้กระทำการเคลื่อนย้ายกับมนุษย์ก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ล้วนประสบความสำเร็จในการเคลื่อนย้ายอะตอมในระดับควอนตัม ซึ่ง ศาตราจารย์ Samuel Braunstein ของมหาวิทยาลัย Wales กำลังทดลองระบบเครือข่ายควอนตัมอินเตอร์เน็ต (Quantum internet) ซึ่งเทคโนโลยีนี้เมื่อใช้กับควอนตัมควอนพิวเตอร์ จะทำให้ความเร็วของเครือข่ายนี้เร็วกว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่เร็วสุดๆในปัจจุบันนับล้านเท่า
|
|
|
18
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แผ่นใสเรื่อง ทฤษฎีควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:18:20 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.18 ที่หอพัก
ในฟิสิกส์เดิม เชื่อว่าอะตอม/โมเลกุล สามารถคาย (ดูดกลืน) ใน ค.ศ. 1900 Max Planck ศึกษารังสีที่ปล่อยจากของแข็งที่ร้อน พบว่า อะตอม/โมเลกุลจะคาย/ดูดกลืนพลังงานเพียงบางค่าเท่านั้น พลังงานน้อยที่สุดที่อะตอม/โมเลกุลคาย/ดูดกลืน ในรูปของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เรียนว่า ควอนตัม ตามทฤษฏีควอนตัมของพลังค์ อะตอมดูดกลืนพลังงานเท่ากับผลคูณของเลขจำนวนเต็มบางค่ากับ hu (hu,2hu,3hu,…)
|
|
|
19
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง การแผ่รังสีของวัตถุดำ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:17:20 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.17 ที่หอพัก
กฎของสตีฟาน พลังงานต่อหน่วยหน่วยปริมาตรของทุกๆความถี่ที่แผ่ออกมาวัตถุดำ จะแปรผกผันตรงกับกำลังสี่ของอุณหภูมิ u = eซิกม่าร์T^4 เมื่อซิกม่าร์ คือ ค่าคงที่ของสตีฟาน = 5.67x10^-18 (v/m^2 k^4) e คือ ความสามารถในการแผ่รังสี ถ้าเป็นวัตถุดำจะมีค่าเท่ากับ 1 กฎ ของวีน วัตถุทุกชิ้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าองศาสมบูรณ์จะมีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกมาเสมอ เมื่อวัตถุมีอุณหภูมิต่ำรังสีส่วนใหญ่ที่แผ่ออกมามีความถี่ อยู่ในย่านที่มนุษย์มองไม่เห็น
|
|
|
20
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แมกซ์ แพลงค : Max Planck
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:15:45 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.15 ที่หอพัก
ในปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับ มอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงค้นพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำ การทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่ออกมา แพลงค้นพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียก ว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัม
|
|
|
21
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน ฟิสิกส์ 2000 เรื่อง พฤติกรรมประหลาดทางควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:13:28 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.13 ที่หอพัก
เรื่องพฤติกรรมประหลาดของควอนตัม วัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ จนถึงระดับโมเลกุล และอะตอม มันมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกับวัตถุทีมีขนาดใหญ่ทั่วไป และเรียกมันว่า ควอนตัมสามารถรวมคลื่น 2 กระบวนให้มีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นได้ ถ้ายอดคลื่นของกระบวนหนึ่งรวมกับยอดคลื่นของอีกกระบวนหนึ่ง หรือท้องคลื่นกระบวนหนึ่งรวมกับท้องคลื่นของอีกกระบวนหนึ่งก็ได้ เรื่องทดลองช่องแคบคู่ คลื่น แสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าคลื่นน้ำมากเราจึงไม่เห็นการกระเพื่อมขึ้น ลงเหมือนกับคลื่นน้ำ แต่จะเห็นเป็นริ้วรอยมืดและสว่าง ซึ่งก็คือการแทรกสอดแบบเสริมและหักล้างไปปรากฏบนฉากแทน เรื่องแทรกสอดของอนุภาค ถ้า ปืนกลส่ายไปมา ลูกกระสุนก็วิ่งผ่านช่องแคบกระจายออกเป็น 2 บริเวณ กระสุนที่วิ่งเข้าไปในช่องที่หนึ่ง ไปชนกับกระสุนที่วิ่งเข้ามาที่ช่องสอง และทำให้กระสุนกระเด็นออกไป เกิดเป็นช่องว่างขึ้น กำแพงบริเวณนั้นก็ไม่มีรอยกระสุน
|
|
|
22
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เออร์วิน ชโรดิงเจอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:12:13 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.12 ที่หอพัก
สมการของนิวตันและสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ เป็นเครื่องมือที่นักศึกษาฟิสิกส์ทั่วโลก ต้องใช้ในการศึกษาสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุหรืออนุภาคที่มีแรงมาเกี่ยวข้อง ด้วย แต่ต่างกันตรงที่สมการของนิวตัน (ที่รู้จักกันดีในรูปของ F=ma) เป็นสมการที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ และเกี่ยวข้องกับความเร็วไม่สูงมาก (เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วแสง) ซึ่งมักจะเรียกรวมๆ เป็นปัญหาการเคลื่อนที่ของวัตถุในระดับของฟิสิกส์ยุคเก่า หรือ Classical Physics ส่วนสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ เป็นสมการที่ใช้สำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในระดับ ควอนตัม หรือ Quantum Mechanics เช่น ระดับอิเล็กตรอนในอะตอม หรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคองค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุในจักรวาล
|
|
|
23
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ปรากฎการณ์คอมป์ตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:10:31 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.10 ที่หอพัก
ผลการทดลองและทฤษฎีตรงกันสำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น เท่ากับแสงและความยาวมากกว่าแสง ส่วนการกระเจิงของคลื่นที่มีความยาวน้อย แสงนั้นจะไม่ให้ผลตรงกันระหว่างทฤษฏีและผลกาสรทดลอง
|
|
|
24
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ชีวิตการทำงานของไอน์สไตน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 08:03:02 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 20.02 ที่หอพัก
เกิด วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงาน - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) - ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory) - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิวด้วย บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อ ไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม และมักไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพูด ไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียนก็คือการสอนที่น่าเบื่อหน่าย ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2
|
|
|
25
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองของ (Michelson-Morley Experiment)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 07:59:16 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 19.59 ที่หอพัก
ลำแสงที่สะท้อนจากกระจก M1 ผ่านกระจกแยก BS และทะลุผ่านไปยังฉาก S ส่วนลำแสงที่สะท้อน จากกระจก M2 ไปที่กระจกแยก BS และสะท้อนไปที่ฉาก S เกิดการแทรกสอดเป็นริ้วรอยมืดสว่าง บนฉาก S เลนส์ DL ช่วยขยายริ้วรอยแทรกสอดให้มีขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นเครื่องมือวัดละเอียด อุปกรณ์ทั้งหมดต้องอยู่ในระดับ จึงจะเกิดริ้วรอยแทรกสอดดังรูปได้ ถ้าคุณจับโต๊ะ จะทำให้โต๊ะเกิดการสั่นสะเทือน แม้เพียงเล็กน้อยโดยคุณไม่สามารถสังเกตเห็น ริ้วรอยแทรกสอดจะสั่นสะเทือนให้เห็นอย่างชัดเจน
|
|
|
26
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองของทอมกับเจน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 07:57:13 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 19.56 ที่หอพัก
1.เมื่อเปลี่ยนความเร็วของยานอวกาศ -ยานอวกาศมีความเร็วมากขึ้นเท่าใดอายุของเจนกับทอมก็ยิ่งมีอายุต่างกันมากขึ้น โดยเจนจะมีอายุน้อยกว่าทอมเมื่อกลับลงสู่พื้นโลก 2.ส่งยานอวกาศไปยังดวงดาว 2 แห่ง แห่งแรกอยู่ใกล้ แห่งที่สองอยู่ไกล ด้วยความเร็วที่เท่ากัน -จาก การทดลองด้วยความเร็วที่เท่ากันจะได้ว่า ดวงดาวที่อยู่ใกล้อายุของเจนกับทอมต่างกันไม่มากนัก แต่ถ้าเราไปยังดวงดาวที่อยู่ไกล อายุของเจนกับทอมยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น โดยเจนจะมีอายุน้อยกว่าทอมเมื่อกลับลงสู่พื้นโลก 3.ถ้าคุณตั้งอายุเริ่ม ต้นของเจนและทอมให้เท่ากัน คุณจะต้องตั้งความเร็วและระยะทางอย่างไร ให้ทอมกับเจนมีอายุใกล้เคียงกันเมื่อยานอวกาศกลับถีงพื้นโลก -ลดอัตราความเร็วของยานอวกาศให้น้อยที่สุด และเดินทางไปยังดวงดาวที่อยู่ใกล้ที่สุด
|
|
|
27
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อ.สุวิทย์ ชวเดช
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 07:55:21 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 19.55 ที่หอพัก
การทดลองของไมเคิลสันและมอร์ลีย์ 1.คลื่นจากแหล่งกำเนิดเดินทางกระทบกับกระจกเงากึ่งทะลุ 2.แสงaที่ ทะลุผ่านในข้อ1.จะเดินผ่านไปกระทบกับกระจกเงาธรรมดาA ในขณะเดียวกันแสงbที่สะท้อนจากกระจกเงาในข้อ1.จะเดินไปกระทบกับกระจกเงา ธรรมดาB โดยแสงทั้งสองส่วนนี้เทียบกับเครื่องบินลำAและB
|
|
|
28
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: แผ่นใสทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อ.ดร. อรรถกฤต ฉัตรภูติ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 07:54:38 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 19.54 ที่หอพัก
ทฤษฎีนี้เรียกว่า "ทฤษฏีสัมพัทธ์ภาพพิเศษ" เนื่องจากมันประยุกต์หลักสัมพัทธภาพกับกรอบอ้างอิงเฉื่อยเท่านั้น ไอน์สไตน์พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปโดยประยุกต์หลักสัมพัทธภาพให้ใช้ทั่วไป กล่าว คือ ใช้ได้กับทุกกรอบอ้างอิง และทฤษฎีดังกล่าวยังรวมผลของความโน้มถ่วง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษไม่ได้รวมผลของความโน้มถ่วง แต่มันสามารถจัดการกับความเร่ง ได้ถึงแม้ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพจะทำให้เกิด การสัมพัทธ์กันของปริมาณบางอย่าง เช่น เวลาซึ่งเรามักคิดว่าเป็นปริมาณสัมบูรณ์เนื่องจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ถึง กระนั้นมันก็มีปริมาณบางอย่างที่เป็นปริมาณสัมบูรณ์ทั้ง ๆ ที่เราคิดว่ามันน่าจะเป็นปริมาณสัมพัทธ์ กล่าวให้ชัดคือว่า อัตราเร็วของแสงจะเท่ากันสำหรับทุกผู้สังเกต แม้ว่าพวกเขาจะเคลื่อนที่ สัมพัทธ์กันก็ตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพแสดงให้เห็นว่า c ไม่ใช่แค่ความเร็วของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า -- แสง -- เท่านั้น แต่ยังเป็นค่าพื้นฐาน ที่เชื่อมสเปซกับเวลาเข้าด้วยกัน กล่าวโดยเจาะจงคือว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพยืนยันว่าไม่มีวัตถุใดเคลื่อนที่เร็วเท่ากับแสงได้
|
|
|
29
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองเรื่องเวลาสัมพัทธ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 07:54:01 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 19.53 ที่หอพัก
ไอสไตน์ ได้สร้างทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษบนสมมติฐาน 2 ข้อหรือเรียกว่า สัจพจน์ ดังนี้ 1. สัจพจน์สัมพันธ์ กฏของฟิสิกส์เป็นจริงทุกๆ กรอบเฉื่อย 2. สัจพจน์ของความเร็วแสง อัตราของเร็วของแสงในสูญญากาศที่วัดในกรอบเฉื่อย จะมีค่าเท่ากัน ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่จะเป็นเช่นใด
|
|
|
30
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: แผ่นใสฟิสิกส์ของกาลเวลา
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 07:52:43 pm
|
นางสาวสุมินตรา งามสมบัติ เลขที่ 36 รหัส 115210452022-4 sec 2 ตอบกระทู้วันที่ 7 ก.พ 2554 เวลา 19.52 ที่หอพัก
เวลาตามแนวคิดของนิวตัน - เวลาและตำแหน่งเป็นฉากหลัง - เวลาเป็นอิสระจากทุกสิ่ง - เวลาสัมบูรณ์ เวลาตามแนวคิดของไอน์สไตน์ - สิ่งที่เรียงลำดับเหตุการณ์ - เวลาอันเป็นจิตวิสัย - สิ่งที่วัดได้โดยใช้นาฬิการ - ไม่ยอมรับเรื่องเวลาสัมบูรณ์ กฎทางฟิสิกส์จะเหมือนกัน สำหรับผู้สังเกตทั้ง 2 คนที่เคลื่อนที่สัมพัทธกันด้วย ความเร็วคงที่
|
|
|
|