แสดงกระทู้
|
หน้า: [1] 2 3 4
|
1
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง Frank-hertz
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 12:22:41 am
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่10/02/54 เวลา00.20น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ในปี ค.ศ. 1914 ได้มีการทดลองแสดงให้เห็นว่าสถานะนิ่งที่เป็นค่า ๆ ของอิเล็กตรอนในอะตอม (ตามสมมติฐานของบอร์) นั้นมีอยู่จริง จากการทดลองของแฟรงค์และเฮิรตซ์ เมื่ออิเล็กตรอนถูกปล่อยออกมาจากไส้หลอดที่ร้อน F จะเคลื่อนที่ไปยังแผ่น P ระหว่าง F และ P มีกริด G กั้นอยู่ อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่จาก F ไป G จะถูกเร่งด้วยความต่างศักย์ V0 แต่เมื่อเคลื่อนที่จาก G ไป P มีศักย์หน่วง (retarding potential) Vr ซึ่งมีค่าเพียงเล็กน้อย อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก F ไป P ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล Ip วัดได้ด้วยแอมมิเตอร์ A ความเร็วของอิเล็กตรอนหลังจากถูกปล่อยออกมาจาก F และเคลื่อนที่มาถึง G คือ เมื่อ มีค่าเพิ่มขึ้นความเร็วของอิเล็กตรอนมากขึ้นด้วย ในขณะที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก F ไปยัง P จะมีการชนกับอะตอมของธาตุที่อยู่ในสภาพเป็นไอ ซึ่งบรรจุไว้ในหลอดทดลอง ถ้าความเร็วของอิเล็กตรอนต่ำ การชนกันจะไม่สามารถกระตุ้นอะตอมได้ และอิเล็กตรอนเพียงแต่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่มาถึง G จึงมีพลังงานเหลือมากพอที่จะผ่านศักย์หน่วง Vr ไปยัง P ได้ เมื่อ เพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปถึง P ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มกระแส Ip ดังแสดงในรูป 8 และต่อมาเพื่อเพิ่ม จนกระทั่งถึงค่าหนึ่ง อิเล็กตรอนมีพลังงานมากพอที่จะชนกับอะตอมแล้วอะตอมถูกกระตุ้นในกรณีนี้อิเล็กตรอนจะสูญเสียพลังงานเกือบทั้งหมด เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้เคลื่อนที่ไปถึง G แล้วจะไม่มีพลังงานพอที่จะผ่านศักย์หน่วง Vr ดังนั้นกระแสจะลดลงอย่างรวดเร็ว และต่อมาเมื่อ เพิ่มขึ้นอีก กระแส Ip จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
|
|
|
2
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: วีดีโอเรื่อง ต้นกำเนิดของแสงเลเซอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 12:02:22 am
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่10/02/54 เวลา00.02น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1960 โดย ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Laboratories) ทุกวันนี้เลเซอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลายพันล้านดอนล่าร์ ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอร์ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย มีให้เห็นอย่างเช่น แผ่นดีวีดี แผ่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องอ่านบาร์โค้ด อุปกรณ์ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเลเซอร์มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ หรือแม้กระทั่งด้านการทหาร ก็เพราะว่าเลเซอร์สามารถควบคุมความยาวคลื่นตามที่ต้องการได้ แสงเลเซอร์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่นใดความยาวคลื่นหนึ่งในแถบสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจอยู่ในช่วงระหว่างรังสีอินฟาเรดถึงรังสีอุลตร้าไวโอแลตรวมตลอดความยาวคลื่นของแสงที่มองเห็น สารที่นำไปใช้ผลิตแสงเลเซอร์มี 4 ประภทคือ เลเซอร์แก๊ส เลเซอร์ของเหลว เลเซอร์ของแข็ง เลเซอร์ไดโอด
|
|
|
3
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: เลเซอร์ลำแสงที่มีระเบียบ Laser ฟิสิกส์ 2000
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2011, 11:59:55 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่09/02/54 เวลา23.59น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เมื่อแสงหรือโฟตอน กระทบเข้ากับอะตอม จะทำให้อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียส ยกระดับพลังงานสูงขึ้น และเปลี่ยนวงโคจรเป็นวงโคจรระดับสูง ซึ่งสภาวะนี้ เรียกว่า อะตอมถูกกระตุ้น (stimulated atom) เมื่อการกระตุ้นจากภายนอกหยุดลง อิเล็กตรอนจะกลับเข้าลงสู่วงโคจรปกติ และปลดปล่อยพลังงานหรือแสงออกมาเมื่อยิงโฟตอนกระทบเข้ากับอะตอม จะทำให้อะตอมเรืองแสงขึ้นมา และดูเหมือนว่า เมื่อถูกกระทบอีกครั้ง อะตอมจะปล่อยโฟตอนออกมาเองด้วย เมื่ออัตราการยิงยังไม่มากพอ อนุภาคที่พุ่งออกมีทิศทางไม่แน่นอน แต่เมื่ออัตราการยิงมากขึ้นอนุภาคที่พุ่งออก จะมีทิศทางเดียวกันกลับอนุภาคที่พุ่งเข้ามา
|
|
|
4
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: แบบจำลองอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2011, 11:55:38 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่09/02/54 เวลา23.55น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า 1. อะตอมเป็นรูปทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมเป็นประจุบวกและมีอิเล็กตรอนเป็นประจุลบ กระจายอย่างสม่ำเสมอโดยปริมาณของประจุลบและบวกจะเท่ากัน 2. ทอมสันได้เสนอวิธีการจัดเรียงอะตอมให้มีความเสถียรมากที่สุด
หลักการทดลองของรัทเธอร์ฟอร์ด 1.อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใดๆ 2. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมทุกทิศทางเท่ากัน 3. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใดๆทั้งที่ส่วนใหญ่ผ่านเป็นแนวตรง
|
|
|
6
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือน เรื่องการหาอนุกรมการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:16:10 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา22.13น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เมื่อเลือกTh232 จะเห็นว่าแท่งกราฟสีแดงจะลดลงอย่างลวดเร็วและแท่งกราฟPb208จะพุ่งสูงขึ้นและtimestep 1.39 เมื่อเลือก u238 จะเห็นว่ามีตัวธาตุเพิ่มขึ้น u234 Th230 Ra226 Pb210 Pb206 กราฟจะพุ่งขึ้นทางด้าน pb210 ตามลำดับ และจะค่อยๆลดลงแต่แท่งกราฟจะไม่สูงขึ้นจนสุด แต่ธาตุ Pb206 จะใม่ลง เมื่อ เลือกPu2411 จะเห็นว่ามีธาตุ Pu241 Am241 Np237 U233 Th229 เมือกดปุ่ม Animate จะเห็นว่ามีการพุ่งขึ้นของกราฟทั้งหมดโดยเรียงตามลำดับ จากนั้นจะค่อยลดลง
|
|
|
7
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หญิงเหล็กกับเรเดียม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:12:11 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา22.12น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เด็กหญิงมาเรีย ซาโลมี สโกล์ดอฟสกาถือกำเนิดบนถนนเฟรตา ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ บิดามารดาของเธอเป็นครู ทั้งคู่มีลูกอยู่ 4คน คือ โซเฟีย โบรนิสลาวา ( โบรเนีย) เฮเลนา และบุตรชาย โจเซ็ฟ มารี สโกล์ดอฟสกา เกิดในบ้านเลขที่ 16 ถนนเฟรตา กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ อาคารหลังนี้ ได้รับการบูรณะเพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงผลงานและชีวิตของมารี กูรี มารี กูรี เป็นหนึ่งในคณะผู้บุกเบิกในการวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสีเธอเป็นผู้ค้นพบเรเดียม ซึ่งเปล่งกัมมันตภาพรังสีออกมาโดยธรรมชาติในขณะที่อะตอมแตกตัว เธอศึกษาค้นคว้าวิจัยในยุคที่ยังไม่มีใครรู้จักมหันตภัยของกัมมันตภาพรังสี ต้องดิ้นรนทำงานด้วยความขาดไร้ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนสนับสนุน หรือการยอมรับนับถือจากสังคมรอบด้าน ทำงานหนักสายตัวแทบขาดทั้งๆที่ป่วยไข้ในระดับที่ไม่มีมนุษย์คนไหนทานทนได้ และต้องฝืนกระแสความเชื่อประจำยุคนั้นที่ว่า ผู้หญิงไม่มีทางเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ ในท้ายที่สุด มารีกูรี ก็ประกาศศักดิ์ศรีนักวิทยาศาสตร์ให้ผู้คนประจักษ์กันทั่วโลก เธอได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง เธอรณรงค์หาทุนเพื่องานวิจัยทิ้งไว้ให้เป็นมรดกคนรุ่นหลัง ผลงานวิจัยของมารี กูรี และคณะ ไขปริศนาดำมืดเรื่อง อะตอมและกัมมันตภาพรังสี จนส่งแสงเรืองรองให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
|
|
|
8
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: นิวเคลียร์และการใช้ประโยชน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:10:59 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา22.10น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ในกิจการต่างๆ 1. กิจการอุตสาหกรรม การใช้วัสดุกัมมันตรังสี และเทคนิคทางรังสีในทางอุตสาหกรรม ซึ่งเรียกว่า เทคนิคเชิงนิวเคลียร์ -ใช้วัดระดับของไหล สารเคมีต่างๆ ในขบวนการผลิตในโรงงานเส้นใยสังเคราะห์ด้วยรังสีแกมมา -ใช้ตรวจสอบระดับเศษไม้ในหม้อนึ่งภายใต้ความดันสูง ในการผลิตไม้อัดแผ่นเรียบด้วยรังสีแกมมา
2. ด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน นิวเคลียร์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมใน 2 ด้าน คือในด้านการรักษาและพัฒนาสภาพของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น อีกด้านหนึ่ง คือ การตรวจตรา
3. ด้านการเกษตร ชีววิทยา และ อาหาร ประเทศ ไทยมีการเกษตรเป็นอาชีพหลักของประชากร โครงการใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการเกษตร เป็นต้นว่าการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพ ของผลิตผลซึ่งกำลังแพร่ขยายออกไปสู่ชนบทมากขึ้น -การใช้เทคนิคนิวเคลียร์ วิเคราะห์ดิน เพื่อการจำแนกพื้นที่ปลูก ทำให้ทราบว่า พื้นที่ที่ศึกษาเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชชนิดใด ควรเพิ่มปุ๋ยชนิดใดลงไป
4. ด้านการแพทย์และอนามัย เวชศาสตร์ นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) คือการนำเอาสารรังสีหรือ รังสีมาใช้ในการตรวจ การรักษา และด้านการค้นคว้าศึกษาการทำงานของระบบอวัยวะในร่างกายเพื่อช่วยในการตรวจ วิเคราะห์หรือรักษาโรค บรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และย่นระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล ตัวอย่างบางส่วนของการใช้สารรังสี หรือรังสีด้านการแพทย์ เช่น -การรักษาโรคมะเร็งด้วย โคบอลต์-60 -เม็ดทองคำ-198 ในการรักษามะเร็งผิวหนัง
|
|
|
9
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: โครงการแมนแฮตตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:09:07 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา22.08น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ฟิสิกส์ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ได้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะขึ้น คือสมการ E = MC2 ความหมายของสมการนี้อธิบายได้ว่า มวลสารและพลังงานมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และที่สภาพเหมาะสมมวลสารสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอันมหาศาลได้ มวลสารเพียงแค่ครึ่งกิโลกรัม จะให้พลังงานเท่ากับแรงระเบิด ทีเอ็นที ขนาด 10 ล้านตันเลยทีเดียว แต่ในสมัยนั้นไม่มีนักวิทยาศาสตร์ยอมรับทฤษฎีดังกล่าว เพราะเป็นเรื่องที่ล้ำยุคเกินกว่าจะเข้าถึง และไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า จะทำให้มวลสารปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาได้โดยวิธีใด ต่อมา เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้นำผลงานการค้นพบของ ทอมป์สัน ไปค้นคว้าต่อ และเสนอแบบจำลองของอะตอมขึ้นว่า อะตอมประกอบด้วย อิเล็กตรอน ซึ่งมีประจุลบโคจรรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก เหมือนกับดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นเอง
|
|
|
10
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์นิวเคลียร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:05:17 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา22.05น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า สารกัมมันตภาพรังสี คือ ธาตุที่สามารถให้พลังงานออกมาในรูปของอนุภาค ได้แก่ แอลฟา บีต้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น รังสีแกมมา เกิดจากการที่มีนิวเคลียสของธาตุเหล่านี้อยู่ในสภาวะไม่เสถียรนิวเคลียสเหล่านี้จะปลดปล่อยพลังงานออกมาจึงกระทั่งนิวเคลียสเหล่านี้อยู่ในสภาวะเสถียร ชนิดของรังสีมี3ชนิดคือ 1.รังสีแอลฟา ประจุไฟฟ้าเป็นบวก 2.รังสีแกมมา ประจุไฟฟ้าเป็นกลาง 3.รังสีบีตา ประจุไฟฟ้าเป็นลบ องค์ประกอบของนิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
|
|
|
11
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ไอโซโทป
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:03:52 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา22.03น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า อะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบของธาตุทุกชนิดนั้น มิได้เป็นลูกทรงกลมเล็กๆ แต่เป็นระบบที่ยุ่งยากกว่านั้นมากนักอะตอมประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ คือ โปรตอน นิวตรอนและอิเลคตรอน ในอะตอมที่เบาที่สุด คือ อะตอมของไฮโดรเจน ไม่มีนิวตรอนเลย มีแต่โปรตอนและอิเลคตรอน มวลของโปรตอนหนักกว่าอิเลคตรอน ประมาณ 1,837 เท่า อิเลคตรอนโคจรไปรอบโปรตอนในทำนองเดียวกับดาวเคราะห์โครจรรอบดวงอาทิตย์ อะตอมของธาตุอื่นๆ ก็มีโครงสร้างในทำนองเดียวกับอะตอมของไฮโดรเจน แต่มีโปรตอนในแก่นกลาง หรือ “นิวเคลียส” มากกว่า และมีอิเลคตรอนหลายตัวโครจรอยู่โดยรอบ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีนิวตรอนปนอยู่ในนิวเคลียสอีกด้วย
|
|
|
13
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 09:49:26 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา21.49น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ใช้หลักของเพาลี ในการบรรจุอิเล็กตรอน คือ ในแต่ละออร์บิทัลจะบรรจุอิเล็กตรอนได้อย่างมากที่สุด 2 ตัว (มีสปินต่างกัน) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินขึ้น (spin up) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินลง (spin down) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนคู่ในออร์บิทัล บรรจุ อิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานต่ำสุดที่ยังว่างก่อน (เรียงลำดับออร์บิทัลตามลูกศรในรูป) จนครบจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมดในอะตอมนั้น การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบนี้จะทำให้อะตอมมีสถานะเสถียรที่สุดเพราะพลังงาน รวมทั้งหมดของอะตอมมีค่าต่ำสุด
|
|
|
14
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: Niels Bohr
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 08:02:19 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา20.02น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า บอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้บอร์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อจัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอน และอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุในก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และจำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า "จำนวนอะตอมของธาตุ" และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม
|
|
|
15
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง โครงสร้างอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:56:18 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.56น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า หลักการของบอห์ร ที่สะท้อนมโนภาพนี้อย่างชัดเจนคือ ทฤษฎีความคล้องจอง (Correspondence Theory) และการเติมเต็ม (Principle of Complementarity) ซึ่งทั้งคู่เน้นความคล้ายกันแม้จะอยู่ใต้ความแตกต่างกัน นีลส์ บอห์ร เข้าใจมโนภาพของความกำกวม ณ ระดับลึกซึ้งที่สุด และงานของเขานี้ได้ค้นหาทางแก้ไขความกำกวมนี้ ไปสู่ความกลมกลืนกันได้อย่างยิ่งใหญ่จากวัยเด็กที่ดูเหมือนบอห์รจะมีบุคลิกภาพขัดแย้งกับความเป็นอัจฉริยะของตนเอง ภาพวัยรุ่นตัวใหญ่ขี้อายใส่เสื้อลงแป้งแข็ง แก้มย้อย ริมฝีปากหนา ท่าทางออกจะซุ่มซ่าม ไม่ได้บ่งบอกถึงความฉลาดเฉลียว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันสมองของเขาจะถูกเก็บกัก การเติบโตพร้อมกับน้องชายที่ดูจะมีอะไรดีกว่าเขาทั้งหมด ไม่ได้สร้างปมในใจเขาเลยสักนิด กลับผลักดันให้เขาสร้างผลงานอันยิ่งใหญ่เสียอีก การถูกเลี้ยงดูในครอบครัวของนักการศึกษามีส่วนให้บอห์รคิดเป็นอย่างมาก
|
|
|
16
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: 100 ปี ทฤษฎี ควอนตัม กำเนิด พัฒนาการ และผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:47:46 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.47น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า แมกซ์ แพลงค์ ได้เสนอ สมมติฐานที่แหวกแนว 2 ข้อว่า 1. อะตอมหรือตัวสั่นที่ผนังภายในของกล่อง สามารถสั่นได้ที่เฉพาะบางค่าของพลังงาน E เท่านั้น ตามความสัมพันธ์ E=nhf โดยที่ f คือ ความถี่ของตัวสั่นหรืออะตอมที่ผนัง, h เป็นค่าคงที่ของแพลงค์ เท่ากับ 6.6262 *10-34 J.sec และ n เป็นจำนวนเต็ม (ซึ่งต่อมาเรียกว่า เลขควอนตัม หรือ quantum number) 2. พลังงานที่ตัวสั่นส่งออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีได้เฉพาะบางค่าเมื่อตัวสั่นลดพลังงานจากค่าn อีกค่าหนึ่ง( ที่น้อยกว่า )นั่นคือ พลังงานที่คลื่นสามารถแลกเปลี่ยนกับผนังได้ เท่ากับ E = (n) hf โดยที่n = nl - n2 และ nl มากกว่า n2 แต่ตัวแพลงค์เอก็ยังมีความขัดข้องใจ คือ แม้ว่าผลการทำนายจากสมมติฐาน ของเขาจะสอดรับกับผลการทดลองอย่าง งดงาม แต่ (ในยุคนั้น) เหตุผลที่ให้ไว้นั้นรับได้ยากเสียจริงๆ แพลงค์ยังได้กล่าวในภายหลังว่าสมมติฐานที่เขาเสนอ
|
|
|
17
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน ฟิสิกส์ 2000 เรื่อง พฤติกรรมประหลาดทางควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:46:41 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.46น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า วัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ จนถึงระดับโมเลกุล และอะตอม มันมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกับวัตถุทีมีขนาดใหญ่ทั่วไป และเรียกมันว่า ควอนตัมสามารถรวมคลื่น 2 กระบวนให้มีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นได้ ถ้ายอดคลื่นของกระบวนหนึ่งรวมกับยอดคลื่นของอีกกระบวนหนึ่ง หรือท้องคลื่นกระบวนหนึ่งรวมกับท้องคลื่นของอีกกระบวนหนึ่งก็ได้ เรื่องทดลองช่องแคบคู่ คลื่นแสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าคลื่นน้ำมากเราจึงไม่เห็นการกระเพื่อมขึ้นลงเหมือนกับคลื่นน้ำ แต่จะเห็นเป็นริ้วรอยมืดและสว่าง ซึ่งก็คือการแทรกสอดแบบเสริมและหักล้างไปปรากฏบนฉากแทน เรื่องแทรกสอดของอนุภาค ถ้าปืนกลส่ายไปมา ลูกกระสุนก็วิ่งผ่านช่องแคบกระจายออกเป็น 2 บริเวณ กระสุนที่วิ่งเข้าไปในช่องที่หนึ่ง ไปชนกับกระสุนที่วิ่งเข้ามาที่ช่องสอง และทำให้กระสุนกระเด็นออกไป เกิดเป็นช่องว่างขึ้น กำแพงบริเวณนั้นก็ไม่มีรอยกระสุน
|
|
|
18
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แมกซ์ แพลงค : Max Planck
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:42:39 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.42น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ในปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับ มอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงคพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำ การทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่ออกมา แพลงคพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียก ว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัม เสนอต่อสมาคมฟิสิกส์แห่งเบอร์ลิน เมื่อทฤษฎีของเขาเผยแพร่ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไรนัก
|
|
|
19
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง การแผ่รังสีของวัตถุดำ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:40:01 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.39น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า กฎของสตีฟาน พลังงานต่อหน่วยปริมาตรของทุกๆความถี่ที่แผ่ออกมาวัตถุดำ จะแปรผกผันตรงกับกำลังสี่ของอุณหภูมิ U = eซิกม่าร์T^4 เมื่อซิกม่าร์ คือ ค่าคงที่ของสตีฟาน = 5.67x10^-18 (v/m^2 k^4) e คือ ความสามารถในการแผ่รังสี ถ้าเป็นวัตถุดำจะมีค่าเท่ากับ 1 กฎของวีน วัตถุทุกชิ้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าองศาสมบูรณ์จะมีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเสมอ เมื่อวัตถุมีอุณหภูมิ
|
|
|
20
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การเคลื่อนย้ายมนุษย์ (Teleportation)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:38:22 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.38น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ทำให้มวลที่จุดเริ่มต้นแตกสลายกลายเป็นอะตอมและพลังงาน โดยเก็บข้อมูลทุกๆตำแหน่งของอะตอม และส่งผ่าน ทางสายไฟ สายไฟเบอร์ออฟติก หรือไม่ต้องใช้สาย เป็นต้น เมื่อถึงตำแหน่งที่ต้องการ อะตอมก็จะจัดเรียงและก่อตัวขึ้น เหมือนกับต้นทางทุกประการ แนวคิด เทเลพอเทชั่น เริ่มตั้งแต่ปี ปี ค.ศ. 1966 -69 ปรากฎอยู่ในภาพยนต์วิทยาศาสตร์เรื่อง สตาร์เทค (Star-Trek) ประพันธ์โดย นาย Gene Roddenberr) เราจะได้เห็นกัปตัน Kirk ที่เป็นพระเอกของเรื่อง เดินเข้าไปในห้องแก้ว และกดปุ่ม เขาจะหายไป และปรากฎอยู่ ณ ดาวแห่งหนึ่งที่ไกลจากเดิมนับพันปีแสง
|
|
|
21
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แผ่นใสเรื่อง ทฤษฎีควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:24:52 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.25น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า อะตอมดูดกลืนพลังงานเท่ากับผลคูณของเลขจำนวนเต็มบางค่ากับ hu (hu,2hu,3hu,…) 1. e- ในไฮโดรเจนอะตอมเคลื่อนที่เป็นวงกลม รอบนิวเคลียส e- ในอะตอมไม่สามารถมี พลังงานปริมาณใดๆ ได้ทุกค่า แต่จะอยู่ใน วงโคจรที่มีรัศมีบางค่า ซึ่งสอดคล้องกับ พลังงานบางค่าเท่านั้น 2. e- ในวงโคจรหนึ่ง เมื่อดูดกลืน/คายพลังงาน จะเปลี่ยนจากวงโคจรหนึ่งไปยังวงโคจรอื่น พลังงานที่ e- ดูดกลืน/คาย หาได้จาก Bohr equation = 1312.3 kJ/mol = Rydberg constantDE = E - En = Z2 1 n2 n jn n/ 2p2me4 h2 1 n/ 2 -2p2me4 h2พลังงานที่ e- ดูดกลืน/คายนี้เป็นไปตามสมการ E = hu= 2.18x10-18 J/atom
|
|
|
22
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เออร์วิน ชโรดิงเจอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:23:45 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.24น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ เป็นชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม ค.ศ.1887 ที่กรุงเวียนนา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 เดือน มกราคม ค.ศ.1961 ที่บ้านเกิด คือกรุงเวียนนา) มีชีวิตที่ค่อนข้างจะโลดโผน เคยออกสนามรบแนวหน้าระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลี้ภัยจากนาซีเยอรมันในระหว่างการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ทั้งที่ตนเองไม่ใช่ยิว แต่มีจุดยืนแสดงออกชัดเจนต่อต้านนาซีเยอรมัน โดยความช่วยเหลือของนายกรัฐมนตรีของประเทศไอร์แลนด์ คือ อีมอน เดอ วาเลอรา (Eamon De Valera) ทว่าในบั้นปลายของชีวิต เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ก็เดินทางกลับไปทำหน้าที่นักฟิสิกส์คนสำคัญของออสเตรียในประเทศออสเตรีย จนกระทั่งถึงลมหายใจสุดท้าย
เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ ได้รับรางวัลโนเบลประจำ ปี ค.ศ.1933 (ร่วมกับ พอล ดิแรก) สำหรับผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมและกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาสมการคลื่นของกลศาสตร์ควอนตัมหรือสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์นั่นเอง ข้อความเมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 05:17:15 pm
|
|
|
23
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:22:38 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.22น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการฟิสิกส์โลก เขาได้รับรางวัลโนเบล สายฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ.1932 ขณะมีอายุเพียง 31 ปี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "The Uncertainty Principle" หรือ หลักความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญหลักการหนึ่งของทฤษฎีควอนตัม และเป็นส่วนที่ทำให้ไอน์สไตน์ ไม่สู้จะสบายใจ เพราะไอน์สไตน์ไม่ชอบความไม่แน่นอน และเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการรวมแรงพื้นฐาน 4 ชนิด เข้าด้วยกัน
|
|
|
24
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ปรากฎการณ์คอมป์ตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:20:07 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.20น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ปรากฎการณ์คอมป์ตัน (The compton effect) E = พลังงานจลน์รวมเริ่มต้นของโฟตอนก่อนชน หน่วยเป็น Kev E' = พลังงานจลน์ของโฟตอน ที่กระเจิง หน่วยเป็น Kev h = 6.62 x 10-34 จูล.วินาที c = 3 x 108 เมตร/วินาที่ Theta = มุมที่โฟตอนกระเจิง ปรากฏการณ์คอมป์ตันเป็นหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นธรรมชาติของคลื่นแม่ไฟฟ้าว่า มีลักษณะเป็นอนุภาค ทั้งนี้คอมป์ตัน(A.H. Compton) ได้ศึกษาการกระเจิงของรังสีเอกซ์ โดยรังสีเอกซ์ทำอันตรกิริยากับอนุภาคเป้าแล้วเกิดการเบนของรังสีเอกซ์ หรือบางกรณีนอกจากการเบนรังสีแล้วความยาวคลื่นยังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วย กระบวนการนี้เรียนว่า การจระเจิง(scattering)
|
|
|
25
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง Photoelectric effect
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:18:42 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.18น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก เกิดจากเมื่อแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นหรือความถี่สูง ตกกระทบผิวโลหะ จะทำให้อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า หลุดออกจากโลหะได้ ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า ปรากฎการณืโฟโตอิเล็กตริก เนื่องจากเป็นการที่เกี่ยวกับแสงและไฟฟ้า สมการโฟโตอิเล็กตริกของไอน์สไตน์เขียนได้ดังนี้ hf=W+K
|
|
|
26
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: แผ่นใสฟิสิกส์ของกาลเวลา
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:16:29 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา19.15น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เวลา คือ สิ่งสมมุติที่มนุษย์กำหนดขึ้นให้มี อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผ่านสิ่งที่เราเรียกว่านาฬิกา ซึ่งมีตั้งแต่ วินาที นาที ชั่วโมง ซึ่งเราก็ตกเป็นทาสของเวลากันทั้งนั้น เนื่องจากแต่ละวันเราต้องเร่งรีบ ทำกิจกรรมต่างๆให้ทันเวลา ช้าบ้าง เร็วบ้าง ไม่ทันเวลาบ้าง ถ่วงเวลา ไปบ้าง หรือแม้แต่ปล่อยเวลา ให้ล่วงเลยไปโดยไม่ใยดีบ้างแต่สุดท้ายเราก็ต้องฝากชีวิตไว้กับการเป็นทาสของเวลาอยู่ดี เพราะเวลามันไม่เคยรอเรา และเราต้องวิ่งตามเวลาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตายจากกันไป
|
|
|
27
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองของทอมกับเจน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 06:53:12 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา18.52น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า 1.เมื่อเปลี่ยนความเร็วของยานอวกาศ -จะเห็นว่ายานอวกาศมีความเร็วมากขึ้นเท่าใดอายุของเจนและทอมก็ยิ่งมีอายุต่างกันมากขึ้นโดยเจนจะมีอายุน้อยกว่าทอมเมื่อกลับลงสู่พื้นโลก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วของยานอวกาศด้วย 2.ส่งยานอวกาศไปยังดวงดาว 2 แห่ง แห่งแรกอยู่ใกล้ แห่งทีสองอยู่ไกล ด้วยความเร็วที่เท่ากัน -จากการทดลองในความเร็วที่เท่ากันจะได้ว่า ดวงดาวที่อยู่ใกล้อายุของเจนและทอมจะมีความต่างกันไม่มากนัก แต่ถ้าเราไปยังดวงดาวที่อยู่ไกล อายุของเจนและทอมก็ยิ่งมีความแตกต่างกันมากขึ้นโดยเจนจะมีอายุน้อยกว่าทอมเมื่อกลับลงสู่พื้นโลก แสดงให้เห็นว่าระยะทางมีส่วนที่ทำให้อายุ ของเจนและทอมแตกต่างกันแน่นอน 3.ถ้าคุณตั้งอายุเริ่มต้นของเจนและทอมให้เท่ากัน คุณจะต้องตั้งความเร็วและระยะทางอย่างไร ให้ทอมกับเจนมีอายุใกล้เคียงกันเมื่อยานอวกาศกลับถีงพื้นโลก -จากการทดลดงที่จะทำให้อายุของทั้งสองคนใกล้เคียงที่สุดก็คือ ต้องลดอัตราความเร็วของยานอวกาศให้น้อยที่สุด และไปยังดวงดาวที่อยู่ใกล้ที่สุด จึงจะทำให้ อายุของทั้งสองมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด
|
|
|
28
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ไอน์สไตน์อธิบายความสัมพันธ์ของมวลกับพลังงาน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 06:49:46 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา18.49น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า เป็นไปตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ที่มวลและพลังงานทั้งคู่อยู่ในสิ่งเดียวกัน แต่แสดงออกแตกต่างกันออกไป นับเป็นแนวคิดที่ไม่คุ้นเคยสำหรับสติปัญญาในระดับธรรมดา ยิ่งกว่านั้นสมการ อี เท่ากับเอ็มซียกกำลังสอง ในพลังงานนั้นทำให้เท่ากับมวล แล้วคูณด้วยความเร็วแสงยกกำลังสอง แสดงให้เห็นถึงมวลจำนวนเล็กๆ อาจจะเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลได้ หรือในทางกลับกันพลังงานมหาศาลก็เปลี่ยนเป็นมวลเพียงเล็กน้อยได้เช่นกัน มวลและพลังงานมีความสมมูล (มีค่าเท่ากัน) ตามสูตรที่อ้างถึงก่อนหน้านี้ ซึ่งค็อกครอฟท์กับวอลตันเคยทำการทดลองเร่งอนุภาคไว้เมื่อปี 1932
|
|
|
29
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ชีวิตการทำงานของไอน์สไตน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 06:47:42 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา18.47น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory) และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน ได้แก่ ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาสตร์ ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัย ไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของ สถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New Jersey) นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า "สสารย่อมไม่สูญไปจากโลกเพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่ เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก
|
|
|
30
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองของ (Michelson-Morley Experiment)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 06:46:43 pm
|
นางสาวคณิตา สุดจิตร์ นศ.คณะวิทยาศาสตร์สาขาสถิติประยุกต์ Sec2 รหัส115310903030-0เลขที่53 วันที่06/02/54 เวลา18.46น.สถานที่บาน็อฟฟี่ เพลส สรุปได้ว่า ลำแสงที่สะท้อนจากกระจก M1 ผ่านกระจกแยก BS และทะลุผ่านไปยังฉาก S ส่วนลำแสงที่สะท้อน จากกระจก M2 ไปที่กระจกแยก BS และสะท้อนไปที่ฉาก S เกิดการแทรกสอดเป็นริ้วรอยมืดสว่าง บนฉาก S เลนส์ DL ช่วยขยายริ้วรอยแทรกสอดให้มีขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นเครื่องมือวัดละเอียด อุปกรณ์ทั้งหมดต้องอยู่ในระดับ จึงจะเกิดริ้วรอยแทรกสอดดังรูปได้ ถ้าคุณจับโต๊ะ จะทำให้โต๊ะเกิดการสั่นสะเทือน แม้เพียงเล็กน้อยโดยคุณไม่สามารถสังเกตเห็น ริ้วรอยแทรกสอดจะสั่นสะเทือนให้เห็นอย่างชัดเจน
|
|
|
|