แสดงกระทู้
|
หน้า: [1] 2 3 4
|
1
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ฟิสิกส์ของกาลเวลา
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 05:22:34 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec 02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 10/02/2554 เวลา 17:22 สถานที่ ห้องเรียน สรุปได้ว่า เวลาตามแนวคิดของนิวตัน -เวลาของนิวตันแยกจากตำแหน่งเสมือนหนึ่งทางรถไฟทอดยาวถึงอนันต์ทั้งสองทิศทาง เวลาตามแนวคิดของไอน์สไตน์ -สิ่งที่ใช้ลำดับเหตุการณ์ วัดได้โดยนาฬิกา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ -ระยะทางและเวลามีค่าสัมพัทธ์คือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเร็วของแสงได้คงที่ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป -รวมมิติของเวลาเข้ากับมิติของตำแหน่งเป็นตำแหน่ง-เวลา -รวมความโน้มถ่วงเข้ามา ข้อแตกต่างเรื่องความโน้มถ่วง -นิวตัน แรงดึงดูของวัตถุที่ส่งมากระทำซึ่งกันและกัน -ไอน์สไตน์ การกระจายของสสารและพลังงาน ทำให้ตำแหน่ง-เวลา โค้งหรือบิดงอ
|
|
|
2
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: เลเซอร์ลำแสงที่มีระเบียบ Laser ฟิสิกส์ 2000
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 05:16:59 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec 02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 10/02/2554 เวลา 17:16 สถานที่ ห้องเรียน แหล่งกำเนิดแสง - แหล่งกำเนิดเป็นแสงเลเซอร์ ลำคลื่นจะมีระเบียบสูงมาก ขนาดของลูกคลื่นเท่ากันหมด ส่วนแสงอื่นๆ มีสีหลายสีคละเคล้ากันไป และขนาดของลูกคลื่นไม่ค่อยจะเท่ากัน อะตอมกับแสง -เมื่อแสงหรือโฟตอน กระทบเข้ากับอะตอม จะทำให้อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียส ยกระดับพลังงานสูงขึ้น และเปลี่ยนเป็นวงโคจรระดับสูง ซึ่งสภาวะนี้ เรียกว่า อะตอมถูกกระตุ้น เมื่อกระตุ้นจากภายนอกหยุดลง อิเล็กตรอนจะกลับเข้าลงสู่วงโคจรปกติ และปลดปล่อยพลังงานหรือแสงออกมา การเกิดการกลับของประชากร -อะตอมที่ถูกกระตุ้นจะให้โฟตอนออกมา และเมื่อให้ออกมาแล้วจะกลับเข้าสู่สถานะพลังงานต่ำ รอการพุ่งเข้าชนของโฟตอน ซึ่งจะถูกกระตุ้นใหม่ เป็นวัฏจักรตลอดเวลา โฟตอนที่ได้ออกมาไปทำให้เกิดปฎิกิริยาลูกโซ่ กระตุ้นให้อะตอมอื่นปลดปล่อยโฟตอนออกมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างเลเซอร์ -ถ้าพลังงานภายนอกที่ปั๊มให้มากเพียงพอ จะได้จำนวนโฟตอนมากขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนอยู่ระหว่างกระจก ถ้าเราคิดว่าแสงเป็นคลื่น ลูกคลื่นจะมีแอมพลิจูดสูงขึ้น ทุกๆการสะท้อนครั้งหนึ่ง และถ้าเราคิดว่าแสงเป็นอนุภาค จำนวนอนุภาคจะเพิ่มขึ้นทุกๆการสะท้อน เมื่อพลังงานมากขึ้นแสงจะสามารถทะลุผ่านกระจกได้
|
|
|
3
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: แบบจำลองอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 05:11:07 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec 02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 10/02/2554 เวลา 17:10 สถานที่ Shooter Internet หลักการของทอมสันคือ 1. อะตอมเป็นรูปทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมเป็นประจุบวกและมีอิเล็กตรอนเป็นประจุลบ กระจายอย่างสม่ำเสมอโดยปริมาณของประจุลบและบวกจะเท่ากัน 2. ทอมสันได้เสนอวิธีการจัดเรียงอะตอมให้มีความเสถียรมากที่สุด หลักการทดลองของรัทเธอร์ฟอร์ด 1.อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใดๆ 2. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมทุกทิศทางเท่ากัน 3. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใดๆทั้งที่ส่วนใหญ่ผ่านเป็นแนวตรง
|
|
|
4
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ไอโซโทป
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:27:30 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:27 ณ บ้าน ไอโซโทปคืออะตอมของธาตุเดียวกันมีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ธาตุไฮโดรเจนมีสามชนิด ไฮโดรเจนชนิดที่หนึ่งไม่มีนิวตรอนอยู่ในบริเวณนิวเคลียสเลย เราเรียกไฮโดรเจนชนิดนี้ว่าไฮโดรเจนธรรมดา ไฮโดรเจนชนิดที่สองมีนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียสหนึ่งนิวตรอน เรียกว่าไฮโดรเจนหนักหรือดิวทีเรียม ไฮโดรเจนชนิดที่สามมีนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียสสองนิวตรอน เรียกชื่อว่า Trituum ดิวทีเรียมและทริเซียมเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน
|
|
|
5
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือน เรื่องการหาอนุกรมการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:25:41 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:25 ณ บ้าน เมื่อเลือกTh232 จะเห็นว่าแท่งกราฟสีแดงจะลดลงอย่างลวดเร็วและแท่งกราฟPb208จะพุ่งสูงขึ้นและtimestep 1.39 เมื่อเลือก u238 จะเห็นว่ามีตัวธาตุเพิ่มขึ้น u234 Th230 Ra226 Pb210 Pb206 กราฟจะพุ่งขึ้นทางด้าน pb210 ตามลำดับ และจะค่อยๆลดลงแต่แท่งกราฟจะไม่สูงขึ้นจนสุด แต่ธาตุ Pb206 จะใม่ลง เมื่อ เลือกPu2411 จะเห็นว่ามีธาตุ Pu241 Am241 Np237 U233 Th229 เมือกดปุ่ม Animate จะเห็นว่ามีการพุ่งขึ้นของกราฟทั้งหมดโดยเรียงตามลำดับ จากนั้นจะค่อยลดลง
|
|
|
6
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: นิวเคลียร์และการใช้ประโยชน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:24:58 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:24 ณ บ้าน นิวเคลียร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์หลายด้านดังนี้ 1.การแพทย์ 2.เกษตรกรรม 3.อุตสาหกรรม 4.พลังงาน 5.การเกษตร
|
|
|
7
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หญิงเหล็กกับเรเดียม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:24:13 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:24 ณ บ้าน เด็กหญิงมาเรีย ซาโลมี สโกล์ดอฟสกาถือกำเนิดบนถนนเฟรตา ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ บิดามารดาของเธอเป็นครู ทั้งคู่มีลูกอยู่ 4คน คือ โซเฟีย โบรนิสลาวา ( โบรเนีย) เฮเลนา และบุตรชาย โจเซ็ฟ มารี สโกล์ดอฟสกา เกิดในบ้านเลขที่ 16 ถนนเฟรตา กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ อาคารหลังนี้ ได้รับการบูรณะเพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงผลงานและชีวิตของมารี กูรี มารี กูรี เป็นหนึ่งในคณะผู้บุกเบิกในการวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสีเธอเป็นผู้ค้นพบเรเดียม ซึ่งเปล่งกัมมันตภาพรังสีออกมาโดยธรรมชาติในขณะที่อะตอมแตกตัว เธอศึกษาค้นคว้าวิจัยในยุคที่ยังไม่มีใครรู้จักมหันตภัยของกัมมันตภาพรังสี ต้องดิ้นรนทำงานด้วยความขาดไร้ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนสนับสนุน หรือการยอมรับนับถือจากสังคมรอบด้าน ทำงานหนักสายตัวแทบขาดทั้งๆที่ป่วยไข้ในระดับที่ไม่มีมนุษย์คนไหนทานทนได้ และต้องฝืนกระแสความเชื่อประจำยุคนั้นที่ว่า ผู้หญิงไม่มีทางเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ ในท้ายที่สุด มารีกูรี ก็ประกาศศักดิ์ศรีนักวิทยาศาสตร์ให้ผู้คนประจักษ์กันทั่วโลก เธอได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง เธอรณรงค์หาทุนเพื่องานวิจัยทิ้งไว้ให้เป็นมรดกคนรุ่นหลัง ผลงานวิจัยของมารี กูรี และคณะ ไขปริศนาดำมืดเรื่อง อะตอมและกัมมันตภาพรังสี จนส่งแสงเรืองรองให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
|
|
|
8
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: โครงการแมนแฮตตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:23:23 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:23 ณ บ้าน ทฤษฎีที่เกี่ยวกับอะตอมรูปธรรมแรกสุด คือทฤษฎีอะตอมของดาลตัน โดยกล่าวไว้เพียงว่า อะตอมคือหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร เจ.เจ.ทอมป์สัน ได้ค้นพบอนุภาคอิเล็กตรอนที่เป็นส่วนประกอบของอะตอมได้เป็นครั้งแรก ต่อมาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะขึ้น คือสมการ E = MC-squared ความหมายของสมการนี้อธิบายได้ว่า มวลสารและพลังงานมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และที่สภาพเหมาะสมมวลสารสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอันมหาศาลได้ ต่อมา เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ได้นำผลงานการค้นพบของ ทอมป์สัน ไปค้นคว้าต่อ และเสนอแบบจำลองของอะตอมขึ้นว่า อะตอมประกอบด้วย อิเล็กตรอน ซึ่งมีประจุลบโคจรรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก เหมือนกับดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นเอง นิลส์ บอร์ ปรับปรุงทฤษฎีของ รัทเทอร์ฟอร์ด ให้สมบรูณ์ขึ้น โดยบอร์ได้ค้นพบว่า อิเล็กตรอน ไม่ได้โคจรรอบนิวเคลียสในลักษณะที่มีวงโคจรเฉพาะตัวเหมือนดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ อย่างที่รัทเทอร์ฟอร์ดเข้าใจ แต่อิเล็กตรอน จะโคจรรอบอิเล็กตรอนอย่างรวดเร็ว และสามารถเปลี่ยนระดับชั้นของวงโคจรได้ ทำให้เกิดเสถียรภาพของระดับพลังงาน
|
|
|
9
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์นิวเคลียร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:22:26 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:22 ณ บ้าน สารกัมมันตภาพรังสี คือ ธาตุที่สามารถให้พลังงานออกมาในรูปของอนุภาค ได้แก่ แอลฟา บีต้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น รังสีแกมมา เกิดจากการที่มีนิวเคลียสของธาตุเหล่านี้อยู่ในสภาวะไม่เสถียรนิวเคลียส เหล่านี้จะปลดปล่อยพลังงานออกมาจึงกระทั่งนิวเคลียสเหล่านี้อยู่ในสภาวะ เสถียร ชนิดของรังสีมี3ชนิดคือ 1.รังสีแอลฟา ประจุไฟฟ้าเป็นบวก 2.รังสีแกมมา ประจุไฟฟ้าเป็นกลาง 3.รังสีบีตา ประจุไฟฟ้าเป็นลบ องค์ประกอบของนิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
|
|
|
10
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: ทดสอบออนไลน์เรื่องระเบิดนิวเคลียร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:21:34 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:21 ณ บ้าน เลือกทำ 10 ข้อ ได้ 3 ข้อ
|
|
|
11
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง โครงสร้างอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:17:43 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:17 ณ บ้าน หลักการของบอห์ร ที่สะท้อนมโนภาพนี้อย่างชัดเจนคือ ทฤษฎีความคล้องจอง (Correspondence Theory) และการเติมเต็ม (Principle of Complementarity) ซึ่งทั้งคู่เน้นความคล้ายกันแม้จะอยู่ใต้ความแตกต่างกัน นีลส์ บอห์ร เข้าใจมโนภาพของความกำกวม ณ ระดับลึกซึ้งที่สุด และงานของเขานี้ได้ค้นหาทางแก้ไขความกำกวมนี้ไปสู่ความกลมกลืนกันได้อย่างยิ่งใหญ่จากวัยเด็กที่ดูเหมือนบอห์รจะมีบุคลิกภาพขัดแย้งกับความเป็นอัจฉริยะของตนเอง ภาพวัยรุ่นตัวใหญ่ขี้อายใส่เสื้อลงแป้งแข็ง แก้มย้อย ริมฝีปากหนา ท่าทางออกจะซุ่มซ่าม ไม่ได้บ่งบอกถึงความฉลาดเฉลียว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันสมองของเขาจะถูกเก็บกัก การเติบโตพร้อมกับน้องชายที่ดูจะมีอะไรดีกว่าเขาทั้งหมดไม่ได้สร้างปมในใจเขาเลยสักนิด กลับผลักดันให้เขาสร้างผลงานอันยิ่งใหญ่เสียอีก การถูกเลี้ยงดูในครอบครัวของนักการศึกษามีส่วนให้บอห์รคิดเป็นอย่างมาก ที่บ้านของเขาทุกครั้งที่มี การถกเถียงทางวิชาการหลังมื้ออาหาร ทั้งสองพี่น้องบอห์รจะถูกบังคับให้นั่งฟังเงียบ อยู่ร่วมฟังแต่ห้ามออกเสียงไม่ว่าจะถาม หรือแสดงความคิดเห็น นี่คือแรงผลักอีกประการ ที่ทำให้บอห์รผู้พี่ต้องเป็นนักคิด ด้วยลักษณะที่ร่างกายไม่กระฉับกระเฉง ทุกครั้งที่ทำการทดลอง นีลส์ บอห์ร มักทำหลอดแก้ว เครื่องมือทดลองทั้งหลายแตกหักอยู่เสมอ และนี่นับเป็นประการหนึ่งในปัจจัยที่บอห์รสร้างทฤษฎีควอนตัมได้จากความขัดแย้งและกำกวม
|
|
|
12
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: Niels Bohr
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:16:00 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:15 ณ บ้าน โดยบอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้บอร์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อ จัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอน และอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า
|
|
|
13
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:15:08 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:15 ณ บ้าน หลักอาฟบาว (Aufbau principle) ในจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1.ใช้หลักของเพาลี ในการบรรจุอิเล็กตรอน คือ ในแต่ละออร์บิทัลจะบรรจุอิเล็กตรอนได้อย่างมากที่สุด 2 ตัว (มีสปินต่างกัน) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินขึ้น (spin up) 2.บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานต่ำสุดที่ยังว่างก่อน (เรียงลำดับออร์บิทัลตามลูกศรในรูป) จนครบจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมดในอะตอมนั้น การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบนี้จะทำให้อะตอมมีสถานะเสถียรที่สุดเพราะพลังงานรวมทั้งหมดของอะตอมมีค่าต่ำสุด 3.การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากันเช่นออร์บิทัล d จะใช้ กฎของฮุนด์ (Hund's rule) คือ"การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน จะบรรจุในลักษณะที่ทำให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุด" 4.การบรรจุอิเล็กตรอนที่ทุกๆออร์บิทัล มีระดับพลังงานเป็น degenerate (ระดับพลังงานเท่ากัน) ทุกออร์บิทัลอาจมีอิเล็กตรอนอยู่เต็ม (2 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) หรือมีอิเล็กตรอนอยู่เพียงครึ่งเดียว (1 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล)
|
|
|
14
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:13:56 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:13 ณ บ้าน ทำ 10 ข้อได้ 2 ข้อ
|
|
|
15
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: วีดีโอเรื่อง ต้นกำเนิดของแสงเลเซอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:11:35 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:11 ณ บ้าน การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1960 โดย ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Laboratories) ทุกวันนี้เลเซอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลายพันล้านดอนล่าร์ ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอร์ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย มีให้เห็นอย่างเช่น แผ่นดีวีดี แผ่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องอ่านบาร์โค้ด อุปกรณ์ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเลเซอร์มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ หรือแม้กระทั่งด้านการทหาร ก็เพราะว่าเลเซอร์สามารถควบคุมความยาวคลื่นตามที่ต้องการได้
|
|
|
16
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง Photoelectric effect
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:10:08 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:10 ณ บ้าน ค.ศ.1887 เฮิร์ต (Hertz) ได้ทดลองฉายรังสีอุลตราไวโอเล็ตไปกระทบบนผิวโลหะ พบว่าอิเล็กตรอนอิสระที่โลหะนั้นเรียกอิเล็กตรอนนี้ว่า โฟโตอิเล็กตรอน เมื่อเฮิร์ตเปลี่ยนความถี่ของแสงที่ฉายตกกระทบบนดลหะพบว่า เมื่อลดความถี่ของรังสีให้น้อยลงถึงค่าหนึ่งซึ่งพอดีที่จะทำให้อิเล็กตรอนในอะตอมหลุดเป็นอิสระได้ ถ้าความถี่น้อยกว่าค่าค่านี้จะไม่เกิดโฟโตอิเล็กตรอนขึ้น ความถี่นี้เรียกว่า ความถี่ขีดเริ่ม (threshold frequency) เมื่อเพิ่มความถี่ให้สูงขึ้นพบว่าโฟโตอิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น
|
|
|
17
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง การแผ่รังสีของวัตถุดำ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:08:51 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:08 ณ บ้าน กฎของสตีฟาน พลังงานต่อหน่วยปริมาตรของทุกๆความถี่ที่แผ่ออกมาวัตถุดำ จะแปรผกผันตรงกับกำลังสี่ของอุณหภูมิ U = eซิกม่าร์T^4 เมื่อซิกม่าร์ คือ ค่าคงที่ของสตีฟาน = 5.67x10^-18 (v/m^2 k^4) e คือ ความสามารถในการแผ่รังสี ถ้าเป็นวัตถุดำจะมีค่าเท่ากับ 1 กฎของวีน วัตถุทุกชิ้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าองศาสมบูรณ์จะมีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเสมอ เมื่อวัตถุมีอุณหภูมิ
|
|
|
18
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน ฟิสิกส์ 2000 เรื่อง พฤติกรรมประหลาดทางควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:08:01 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:07 ณ บ้าน พฤติกรรมประหลาดของควอนตัม จากการทดลองสามารถรวมคลื่น2กระบวนให้มีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นได้ ถ้ายอดคลื่นของกระบวนหนึ่งรวมกับยอดคลื่นอีกกระบวนหนึ่งหรือท้องคลื่นของกระบวนหนึ่งรวมกับท้องคลื่นอีกกระบวนหนึ่งก็ได้ ถ้าแสงส่องผ่านช่องแคบคู่ มันจะกระเพื่อมออกไปเหมือนคลื่นในสระน้ำ เมื่อคลื่นอีกช่องแคบหนึ่งแทรกสอดกับคลื่นของอีกช่องแคบหนึ่ง เกิดการแทรกสอดกันขึ้น ทดลองช่องแคบคู่ คลื่นแสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าคลื่นน้ำมากเราจึงไม่เห็นการกระเพื่อมขึ้นลงเหมือนกับคลื่นน้ำ แต่จะเห็นเป็นริ้วรอยมืดและสว่าง ซึ่งก็คือการแทรกสอดแบบเสริมและหักล้างไปปรากฎบนฉากแทน การแทรกสอดของอนุภาค เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งผ่านช่องแคบคู่ มันเกิดการแทรกสอดขึ้น มีริ้วรอยแทรกสอดแบบเสริมและหักล้างกันบนฉาก เหมือนกับการแทรกสอดของแสงเลเซอร์ อิเล็กตรอนซึ่งเป็นเม็ดมวลขนาดเล็กเทียบได้กับกระสุน แม้ว่าจะลดความเร็วของลูกปืนให้ช้าลง ก็ยังเกิดการแทรกสอดได้ อิเล็กตรอนเป็นมวลเม็ดเล็กๆก็จะเกิดการแทรกสอดแบบคลื่นขึ้น
|
|
|
19
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ปรากฎการณ์คอมป์ตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:06:49 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:06 ณ บ้าน ปรากฎการณ์คอมป์ตัน E = พลังงานจลน์รวมเริ่มต้นของโปตรอนก่อนชน หน่วยเป็น Kev E' = พลังงานจลน์ของโปตรอน ที่กระเจิง หน่วยเป็น Kev h = 6.62 x 10-34 จูล.วินาที c = 3 x 108 เมตร/วินาที่ Theta = มุมที่โปตรอนกระเจิง ปรากฏการณ์ควอมป์ตันเป็นหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นธรรมชาติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า มีลักษณะเป็นอนุภาค ทั้งนี้ควอมป์ตัน(A.H. Compton) ได้ศึกษาการกระเจิงของรังสีเอกซ์ โดยรังสีเอกซ์ทำอันตรกิริยากับอนุภาคเป้าแล้วเกิดการเบนของรังสีเอกซ์ หรือบางกรณีนอกจากการเบนรังสีแล้วความยาวคลื่นยังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วย กระบวนการนี้เรียนว่า การจระเจิง
|
|
|
20
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เออร์วิน ชโรดิงเจอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:05:43 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:05 ณ บ้าน สมการของนิวตันและสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ เป็นเครื่องมือที่นักศึกษาฟิสิกส์ทั่วโลก ต้องใช้ในการศึกษาสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุหรืออนุภาคที่มีแรงมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ต่างกันตรงที่สมการของนิวตัน (ที่รู้จักกันดีในรูปของ F=ma) เป็นสมการที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ และเกี่ยวข้องกับความเร็วไม่สูงมาก (เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วแสง) ซึ่งมักจะเรียกรวมๆ เป็นปัญหาการเคลื่อนที่ของวัตถุในระดับของฟิสิกส์ยุคเก่า หรือ Classical Physics ส่วนสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ เป็นสมการที่ใช้สำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในระดับควอนตัม หรือ Quantum Mechanics เช่น ระดับอิเล็กตรอนในอะตอม หรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคองค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุในจักรวาล
|
|
|
21
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:04:57 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:04 ณ บ้าน เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการฟิสิกส์โลก เขาได้รับรางวัลโนเบล สายฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ.1932 ขณะมีอายุเพียง 31 ปี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "The Uncertainty Principle" หรือ หลักความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญหลักการหนึ่งของทฤษฎีควอนตัม และเป็นส่วนที่ทำให้ไอน์สไตน์ ไม่สู้จะสบายใจ เพราะไอน์สไตน์ไม่ชอบความไม่แน่นอน และเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการรวมแรงพื้นฐาน 4 ชนิด เข้าด้วยกัน
|
|
|
22
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การเคลื่อนย้ายมนุษย์ (Teleportation)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:04:04 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:04 ณ บ้าน แม้จะติดที่กฎพื้นฐานของฟิสิกส์ ฟิสิกส์ราชมงคลก็ยังเชื่อว่าสักวันหนึ่งเราจะสามารถเคลื่อนย้ายมนุษย์โดยวิธีเทเลพอเทชั่นได้ มนุษย์ปกติที่มีรูปร่างพอดี ประกอบด้วยอะตอมทั้งหมดประมาณ 1028 อะตอม คือมี เลข 0 อยู่หลังเลข 1 จำนวน 28 ตัว เครื่องจะต้องอ่านข้อมูลของอะตอมทุกๆตำแหน่ง และส่งข้อมูลไปยังที่ใหม่ เพื่อให้อะตอมในที่ใหม่จัดเรียงตัวกันตามข้อมูลนี้ กลายเป็นคนเดิม โดยที่คนเดิมในตำแหน่งเริ่มต้นหายไป (ถ้าไม่หายยุ่งแน่ กลายเป็นสองคน)ความคิดเหล่านี้ดูคล้ายความฝัน ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมีใครคิดว่าจะส่งเอกสารด้วยเครื่อง แฟกซ์ได้ ไม่เคยมีใครคิดว่า เราจะก็อปปี้เอกสารต้นฉบับ ได้เหมือนกับต้นฉบับทุกประการ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป จากนี้จนถึงอนาคตอันไกลโพ้น เราคงต้องไปอาศัยอยู่ ณ ดาวดวงอื่น ดังนั้นการเคลื่อนที่แบบเดิมที่ใช้เวลานาน คงยกเลิกไป และ การเคลื่อนที่แบบเทเลพอเทชั่น จะเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่พวกเราต้องพัฒนาขึ้นให้ได้
|
|
|
23
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แมกซ์ แพลงค : Max Planck
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:03:17 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:03 ณ บ้าน ปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับมอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงคพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำการทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่ออกมา แพลงคพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัมเสนอต่อสมาคมฟิสิกส์แห่งเบอร์ลิน เมื่อทฤษฎีของเขาเผยแพร่ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไรนัก จนกระทั่งปี ค.ศ.1906อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้นำทฤษฎีของแพลงคมาอธิบายประกอบกับทฤษฎีโฟโตอิเล็กทริค เอฟเฟค (Photoelectric Effect) และในปี ค.ศ.1913 นีลส์ บอร์ ได้นำทฤษฎีนี้มาอธิบายประกอบทฤษฎีอะตอมของเขา และจากการค้นพบทฤษฎีควอนตัม ในปี ค.ศ.1918แพลงคได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น ราชบัณฑิตยสภา (Royal Institute) และสมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐอเมริกา
|
|
|
24
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: วีดีโอ เรื่อง ฟิสิกส์ควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:02:15 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:02 ณ บ้าน นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อว่า แม็กฟลักช์ เรียกกฎใหม่นี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม มันคือการค้นพบที่สำคัญทฤษฎีนี้เกิดในปี 1900 เพราะว่าเกิดการทำงานด้านฟิสิกส์มาก มีการค้นพบปรากฎการณ์ใหม่ที่ละเมิดกฎของนิวตัน ตัวอย่างเช่น มาตาม กิวรี ปรับปรุงสิ่งที่เรียกว่า เรเดียม เรเดียมมีคุณสมบัติพิเศษในการเรืองแสง อนุภาคเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า เพราะว่าพลังงานเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า ในปี 1900 คนคิดว่าสามารถตัดพลังงานไฟฟ้าได้ไม่รู้จบ แม็กฟลังก์บอกว่าพลังงานเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม เรียกว่า ควอนตัม แสงมาจากกลุ่มก้อน สสารมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น ควอนตัมเป็นก้าวเล็กที่สุดเกิดขึ้นในธรรมชาติ แต่กลับเป็นก้าวที่มีความยิ่งใหญ่ในด้านความคิดของมนุษย์เรา ทรัพย์อะตอมมิคอะตอมหรืออนุภาคต่าง ๆ ในอะตอม เช่น อิเล็คตรอนจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกธรรมดา แต่กลับเป็นเรื่องปรกติของอะตอมในโลกของทรัพย์อะตอมมิคอะตอมและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นไปตามกฏที่แตกต่างของกฏของสารขนาดใหญ่โดยสิ้นเชิง
|
|
|
25
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง Frank-hertz
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 10:01:23 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 22:01 ณ บ้าน เมื่ออิเล็กตรอนถูกปล่อยออกมาจากไส้หลอดที่ร้อน F จะเคลื่อนที่ไปยังแผ่น P ระหว่าง F และ P มีกริด G กั้นอยู่ อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่จาก F ไป G จะถูกเร่งด้วยความต่างศักย์ V0 แต่เมื่อเคลื่อนที่จาก G ไป P มีศักย์หน่วง (retarding potential) Vr ซึ่งมีค่าเพียงเล็กน้อย อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก F ไป P ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล Ip วัดได้ด้วยแอมมิเตอร์ A ความเร็วของอิเล็กตรอนหลังจากถูกปล่อยออกมาจาก F และเคลื่อนที่มาถึง G คือ เมื่อ มีค่าเพิ่มขึ้นความเร็วของอิเล็กตรอนมากขึ้นด้วย ในขณะที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก F ไปยัง P จะมีการชนกับอะตอมของธาตุที่อยู่ในสภาพเป็นไอ ซึ่งบรรจุไว้ในหลอดทดลอง ถ้าความเร็วของอิเล็กตรอนต่ำ การชนกันจะไม่สามารถกระตุ้นอะตอมได้ และอิเล็กตรอนเพียงแต่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่มาถึง G จึงมีพลังงานเหลือมากพอที่จะผ่านศักย์หน่วง Vr ไปยัง P ได้ เมื่อ เพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปถึง P ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มกระแส Ip ดังแสดงในรูป 8 และต่อมาเพื่อเพิ่ม จนกระทั่งถึงค่าหนึ่ง อิเล็กตรอนมีพลังงานมากพอที่จะชนกับอะตอมแล้วอะตอมถูกกระตุ้นในกรณีนี้อิเล็กตรอนจะสูญเสียพลังงานเกือบทั้งหมด เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้เคลื่อนที่ไปถึง G แล้วจะไม่มีพลังงานพอที่จะผ่านศักย์หน่วง Vr ดังนั้นกระแสจะลดลงอย่างรวดเร็ว และต่อมาเมื่อ เพิ่มขึ้นอีก กระแส Ip จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รูปล่าง เป็นกราฟระหว่าง Ip กับ สำหรับปรอท ผลต่างระหว่างสถานะกระตุ้นสถานะแรกของปรอทกับสถานะพื้นคือ 4.9 eV ดังนั้นกรณีปรอทเราสามารถคาดคะเนได้ว่ายอดแหลมของกระแส Ip อยู่ที่ 4.9 โวลต์ 2 x 4.9 = 9.8 โวลต์ 3 x 4.9 = 14.7 โวลต์ เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นว่าตรงกับผลการทดลองของ แฟรงค์และเฮิรตซ์ ดังแสดงในรูป ความต่างศักย์ที่คล้องจองกับยอดแหลมของกระแสเรียกว่าศักย์การกระตุ้น (excitation potential)
|
|
|
26
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แผ่นใสเรื่อง ทฤษฎีควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 09:58:45 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 21:58 ณ บ้าน อะตอมดูดกลืนพลังงานเท่ากับผลคูณของเลขจำนวนเต็มบางค่ากับ hu (hu,2hu,3hu,…) 1. e- ในไฮโดรเจนอะตอมเคลื่อนที่เป็นวงกลม รอบนิวเคลียส e- ในอะตอมไม่สามารถมี พลังงานปริมาณใดๆ ได้ทุกค่า แต่จะอยู่ใน วงโคจรที่มีรัศมีบางค่า ซึ่งสอดคล้องกับ พลังงานบางค่าเท่านั้น 2. e- ในวงโคจรหนึ่ง เมื่อดูดกลืน/คายพลังงาน จะเปลี่ยนจากวงโคจรหนึ่งไปยังวงโคจรอื่น พลังงานที่ e- ดูดกลืน/คาย หาได้จาก Bohr equation = 1312.3 kJ/mol = Rydberg constantDE = E - En = Z2 1 n2 n jn n/ 2p2me4 h2 1 n/ 2 -2p2me4 h2พลังงานที่ e- ดูดกลืน/คายนี้ เป็นไปตามสมการ E = hu= 2.18x10-18 J/atom
|
|
|
27
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 1
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 09:56:22 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 21:56 ณ บ้าน "ทฤษฏีสัมพัทธ์ภาพพิเศษ" เนื่องจากมันประยุกต์หลักสัมพัทธภาพกับกรอบอ้างอิงเฉื่อยเท่านั้น ไอน์สไตน์พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปโดยประยุกต์หลักสัมพัทธภาพให้ใช้ทั่ว ไป กล่าวคือ ใช้ได้กับทุกกรอบอ้างอิง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษไม่ได้รวมผลของความโน้มถ่วง แต่มันสามารถจัดการกับความเร่ง ได้ ถึงแม้ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพจะทำให้เกิดการสัมพัทธ์กันของปริมาณบางอย่าง เช่น เวลาซึ่งเรามักคิดว่าเป็นปริมาณสัมบูรณ์เนื่องจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน Grin กล่าวให้ชัดคือว่า อัตราเร็วของแสงจะเท่ากันสำหรับทุกผู้สังเกต แม้ ว่า พวกเขาจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันก็ตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพแสดงให้เห็นว่า c ไม่ใช่แค่ความเร็วของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แสง เท่านั้น แต่ยังเป็นค่าพื้นฐาน ที่เชื่อมสเปซกับเวลาเข้าด้วยกัน กล่าวโดยเจาะจงคือว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพยืนยันว่าไม่มีวัตถุใดเคลื่อนที่เร็วเท่ากับแสงได้
|
|
|
28
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองของ (Michelson-Morley Experiment)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 09:53:56 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 21:53 ณ บ้าน Interferometer ชนิดไมเคิลสัน เป็นอุปกรณ์ทางแสงใช้วัดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆได้ เช่น การเลื่อนตำแหน่งที่น้อยมากๆ ซึ่งใช้ศึกาาการสั่นไหว หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นได้ เช่น อุณหภูมิ ความเร็วในการไหลของอากาศ ความหนาของฟิล์มที่เคลือบกระจก เครื่องมือไมเคิลอินเทอรือินเตอร์-ฟีรอมิเตอร์ ใช้ในการวัดความยาวได้อย่างแม่นยำและละเอียด อาศัยหลักการแทรกสอดของแสง
|
|
|
29
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองเรื่องเวลาสัมพัทธ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 09:51:47 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 21:51 ณ บ้าน ไอสไตน์ ได้สร้างทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษบนสมมติฐาน 2 ข้อหรือเรียกว่า สัจพจน์ ดังนี้ 1. สัจพจน์สัมพันธ์ กฏของฟิสิกส์เป็นจริงทุกๆ กรอบเฉื่อย 2. สัจพจน์ของความเร็วแสง อัตราของเร็วของแสงในสูญญากาศที่วัดในกรอบเฉื่อย จะมีค่าเท่ากัน ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่จะเป็นเช่นใด
|
|
|
30
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ชีวิตการทำงานของไอน์สไตน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 09:49:26 pm
|
นายสุรเชษฐ ทองโฉม นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ sec02 เลขที่ 65 รหัส 115310903044-1 เข้ามาตอบกระทู้วันที่ 08/02/2554 เวลา 21:49 ณ บ้าน ในปี ค.ศ.1905อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ขณะนั้นอายุเพียง 26 ปี ได้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชา โดยการตีพิมพ์บทความสำคัญ 5 บทความด้วยกันคือ บทความแรก เสนอแนวคิดว่า แสงสามารถแสดงสมบัติของอนุภาคได้ในปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก บทความที่สองเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของไอน์สไตน์ได้เสนอวิธีการใหม่ในการวัดขนาดของโมเลกุล บทความที่สาม เสนอทฤษฎีอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคเล็กๆ บทความที่สี่ ไอน์สไตน์ได้นำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับที่ว่าง (space) และเวลา (time) ซึ่งต่อมาเรียกว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
|
|
|
|