แสดงกระทู้
|
หน้า: [1] 2
|
1
|
ฟิสิกส์ 2 / แสงและการมองเห็น / Re: เรือใบสุริยะ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:35:39 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:35 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ลักษณะของเรือใบสุริยะ 1.ใบมีขนาดใหญ่ เพื่อเก็บพลังงานของแสงให้ได้มากสุด 2.น้ำหนักเบา มวลน้อย ทำให้อัตราเร่งเกิดขึ้นได้สูง 3.ทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ประจุไฟฟ้า และฝุ่นผงในอวกาศ การควบคุมเรือใบสุริยะทำได้ 2 ประการ คือ 1.ควบคุมทิศทางของเรือใบเทียบกับตำแหน่งของแสงอาทิตย์ 2.เปลี่ยนความเร็วของยานอวกาศในวงโคจร
|
|
|
2
|
ฟิสิกส์ 2 / แสงและการมองเห็น / Re: วีดีโอเรื่อง เอกซ์เรย์ส่องทะลุเสื้อผ้า
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:34:22 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:34 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ลำที่เป็นแสงหรือรังสีเอ็กซ์ที่ตรวจมะเร็งหรือมองทะลุเสื้อผ้า เรียกว่าโทร่าเฮิร์ท อ่านเอกสารโบราณได้โดยไม่ต้องเปิด เอ็กซเรย์คุณภาพสูงสามารถส่องทะลุเนื้อเยื่อได้ ตรวจกระดูกได้อย่างยอดเยี่ยม โทร่าเฮิร์ทสร้างจากแสงอาทิตย์ และร่างกายของคนด้วยการตั้งความถี่ที่ต่างกันออกไป นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้สร้างกล้องนี้แบบพกพาเป็นรังสีแบบเดียวกับวิทยุหรือแสงที่ส่องผ่านเห็นได้กล้องนี้คาบเกี่ยวทั้งสองแบบความยาวคลื่นแต่ละคลื่นมีพลังงานที่ต่างกัน ถูกดูดซับด้วยวิธีที่ต่างกันและวัตถุที่ต่างกัน ด้วยการเอ็กสเรย์ผ่านผิวหนังได้ แต่กระดูกจะดูดซับ กล้องนี้จะมองเห็นทะลุผ่านเสื้อผ้า กระดูกภายในร่างกาย อาจช่วยมองเห็นมะเร็งผิวหนังได้ ผ่านทะลุน้ำและตรวจจับสารเสพติดได้โดยไม่มีผลข้างเคียง
|
|
|
3
|
ฟิสิกส์ 2 / แสงและการมองเห็น / Re: กล้องมองในความมืด (night vision)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:33:08 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:33 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า กล้องมองในที่มืดแยกเทคโนโลยีออกเป็น 2 แบบ คือ 1.Image enhancement ใช้วิธีการเก็บกักแสง แม้ว่าจะมีเพียงน้อยนิด เป็นแสงที่อยู่ในย่านที่ตามองไม่เห็น ไม่ใช่ย่านอินฟาเรด ขยายสัญญาณแสง และแปลงออกเป็นภาพ 2.Thermal imaging ใช้วิธีจับแสงในย่านอินฟราเรด ซึ่งเป็นย่านที่ให้ความร้อน ความร้อนที่จับได้จากวัตถุไม่ได้เกิดจากการสะท้อน วัตถุยิ่งมีความร้อนมากจะเปล่งแสงได้ดีกว่าวัตถุที่มีความร้อนน้อย
|
|
|
4
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ / Re: การทดลองเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:29:42 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:29 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า 1.แสงที่แสดงในรูปบน เป็นแสงโพลาไรท์ สนามไฟฟ้ามีทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น แสดงด้วยลูกศรสีน้ำเงิน พุ่งไปข้างหน้าลูกศรเดียวไม่มีการหมุน ขณะที่แสงธรรมชาติหรือแสงแดด ไม่ใช่แสงโพลาไรท์ สนามไฟฟ้ามีอยู่หลายทิศหลายทาง 2.มันตั้งฉากกันเฉพาะ TEM wave นะคะ คือคลื่นในสุญญากาศถ้า TM กับ TE wave เช่นคลื่นใน transmission line มันไม่ตั้งฉากกันนะ 3.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าทำให้เกิดเป็นคลื่นของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าในทิศทางที่ตั้งฉากกัน ที่เห็นในรูปแสดงเฉพาะคลื่นไฟฟ้า
|
|
|
5
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ / Re: ประวัติของ เจมส์ คลาร์ก แมเวล : James Clark Maxwell
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:28:49 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:28 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เจมส์ คลาร์ก แมเวล : James Clark Maxwell เกิดวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ที่เอดินเบิร์ก (Edinburg) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland) เสียชีวิต วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879 ที่เคมบริดจ์ (Cambridge) ประเทศอังกฤษ (England) ผลงาน - ทฤษฎีพลังงานจลน์ของความร้อน (Kinetic Theory of Heat) - ทฤษฎีพลังงานจลน์ของก๊าซ (Kinetic Theory of Gas) - ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นผู้ค้นพบทฤษฎีความร้อนซึ่งเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุดนอกจากนี้เขายังค้นพบว่าแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถผ่านอีเทอร์ได้ โดยมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง ต่อมาในปี ค.ศ. 1864 แมกเวลได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้าแมกเวล กล่าวว่า ไฟฟ้าและแม่เหล็กมีความสัมพันธ์กันเมื่อมีแม่เหล็กก็ต้องมีไฟฟ้า ดังนั้นแมกเวลจึงใช้หลักการนี้สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้แผ่รัศมีออกไป โดยใช้ความเร็วคงที่ จากการคำนวณของแมกเวลที่เกิดจากการนำอำนาจแม่เหล็กกับหน่วยไฟฟ้ามาหาอัตรา ส่วนกัน ผลปรากฏว่าความเร็วที่เหมาะสม คือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที
|
|
|
6
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ / Re: เครื่องรับวิทยุ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:27:43 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:27 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า หลักการพื้นฐานของเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุ คือ ครื่องส่งแปลงข้อมูล ที่เป็นเสียง ภาพ ให้เป็นคลื่นรูปไซน์ และแปลงออกเป็นสัญญาณวิทยุส่งออกไปในอากาศ เครื่องรับจะรับสัญญาณวิทยุ และแปลงสัญญาณกลับไปเป็นเสียง และภาพ ทั้งเครื่องส่งและเครื่องรับใช้เสาอากาศในการแผ่และรับสัญญาณวิทยุ การรับส่งสัญญาณจะมี เสาอากาศของเครื่องรับ จะรับสัญญาณจากเครื่องส่งวิทยุ สายอากาศของเครื่องรับแบบ AM เป็นสายไฟธรรมดา หรือแท่งโลหะก็ได้ ตัวจูนเนอร์ มีหน้าที่เลือกสัญญาณความถี่เดียวจากเสาอากาศ ในกรณีของตัวอย่างบน ตัวจูนเนอร์ จะรับสัญญาณความถี่ 680,000 เฮิรตซ์ หลักพื้นฐานของจูนเนอร์ คือ การเรโซแนนท์ หรือการกำทอน ซึ่งเกิดขึ้นที่ความถี่ค่าที่เราจูนไปหา การจูนก็คือการปรับค่าตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำ ให้เกิดการกำทอนที่ความถี่ตรงสถานีที่ต้องการฟัง ในที่นี้คือ 680 กิโลเฮิรตซ์
|
|
|
7
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ / Re: ประวัติของ มาร์โคนี
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:26:41 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:26 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า กูกิลโม มาร์โคนี เกิดเมื่อปี 1874 ที่โบโลนา ในประเทศอิตาลี เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ของแม็กซ์เวลล์ และการทดลองการส่งกระแส ไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท มาร์โคนีสร้างเครื่องรับ ส่งวิทยุอย่างง่ายๆ ในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องจากห้องหนึ่ง ไปยังอีกห้องหนึ่งได้ เขาพบว่าถ้าเขา สร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้น เริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกล ๆ เขาส่งสัญาณจากสถานีหนึ่ง บนฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศสซึ่งไกลออกไป50กิโลเมตรและที่ระยะ120 กิโลเมตร สำเร็จเจ้าของเรื่อเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนี ในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึกประทับใจเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือได้รับการเตือนให้ทราบ ถึงภัยอันตรายด้วยคลื่นวิทยุจากมาร์โคนี
|
|
|
8
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: ลอจิกเกต (LOGIC GATE)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:24:57 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:24 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ PLC ทำงานด้วยหลักของ binary คือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 สถานะเช่นสูงหรือต่ำ ปิดหรือเปิด, 0 หรือ 1 เกตเป็นสัญลักษณ์ของวงจรที่ใช้แทนลอจิกระบบที่เรียกว่าพีซคณิตบูลลีนใช้แสดงอินพุตและเอาท์พุต ซึ่งเกตมีพื้นฐานดังนี้ -อินเวอร์เตอร์ INVERTER-NOT -แอนด์เกต AND GATE -ออร์เกต ORGATE -NAND GATE -NON GATE -เอ็กซ์คลูซิฟออร์เกต X-OR GATE -เอ็กซ์คลูซิฟนอร์เกต X-NOR GATE
|
|
|
9
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: วีดีโอเรื่อง คอมพิวเตอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:23:55 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:23 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า คอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อโลกปัจจุบันมาก ชายสองคนกำลังสร้างคอมพิวเตอร์และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ มี 5 ยุค มีตั้งแต่ใช้หลอดสุญญากาศ จนถึงปัจจุบันที่พัฒนาจากเดิมไปมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้คนมากมาย ปัจจุบันคนใช้คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
|
|
|
10
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ตารางธาตุ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:22:52 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:22 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ตารางธาตุ ในการทดลองมีการแบ่งกลุ่มของธาตุแต่ละชนิดตามคุณสมบัติของธาตุนั้น ๆ ธาตุ Halogone คือ ธาตุ F Cl Br l At ธาตุที่มี Atomic Number 92 คือ ธาตุ U ( Uranium ) เขียน elector configuration ได้เป็น [ Rn]5f<3>6d<1>7s<2>
|
|
|
11
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: มนุษย์อวกาศบนปฐพี
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:22:04 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:22 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า สารกึ่งตัวนำ มีความหมายว่าจะเป็นตัวนำก็ไม่ใช่ หรือจะเป็นฉนวนก็ไม่เชิง คุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำอยู่ระหว่างการนำไฟฟ้าและเป็นฉนวนวัสดุกึ่งตัวนำเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ไฟฟ้าเกือบทุกชนิด เช่น เครื่องขยายเสียง วิทยุ หรือเทปคาสเซ็ท ล้วนใช้อุปกรณ์ที่ทำจากทรานซิสเตอร์หรือไดโอด โดยไดโอดทำหน้าแปลงไฟฟ้ากระแสสลับซึงเป็นไฟบ้านให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำ N และ P กระบวนการที่ใส่สารเจือปนลงในวัสดุสารกึ่งตัวนำเราเรียกว่าการโดปปิ้งสารกึ่งตัวนำที่โดปด้วยสารเจือปน และมีอิเล็กตรอนอิสระเหลือในชั้นนอกสุด เราเรียกว่า สารกึ่งตัวนำชนิด N สารกึ่งตัวนำที่เติมสารเจือปนและทำให้เกิดโฮลขึ้น มีประจุไฟฟ้าบวก เพราะว่าขาดอิเล็กตรอนไป พร้อมที่จะไปดึงอิเล็กตรอนจากที่อื่นมาเติม เราเรียกว่า สารกึ่งตัวนำชนิด P
|
|
|
12
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: หลักการทำงานของเครื่องขยายเสียง
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:21:11 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:21 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เครื่องขยายเสียงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทของคุณภาพเสียงคือ 1. เครื่องขยายเสียงไฮ-ไฟ 2. เครื่องขยายเสียงแบบที่ไม่ใช่ไฮไฟ เครื่องขยายเสียงแบบไฮ-ไฟจะเป็นเครื่องขยายเสียงที่สามารถตอบสนองได้ทุกย่านความถี่ตลอดความถี่เสียง นั่นคือเครื่องขยายประเภทนี้จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเครื่องขยายแบบไม่ใช่ไฮ-ไฟ เครื่องขยายประเภทนี้เช่น เครื่องขยายเสียงในโรงภาพยนตร์ มินิคอมโป ลำโพงที่มีซับวูฟเฟอร์อยู่ด้วย เป็นต้น ส่วยเครื่องขยายแบบไม่ใช่ไฮ-ไฟนั้นจะไม่เน้นที่คุณภาพของเสียง แต่จะเน้นที่ความดังของเสียงเท่านั้น เครื่องขยายเสียงประเภทนี้จะให้คุณภาพเสียงเฉพาะที่ความถี่ใดๆ ความถี่หนึ่งๆ เท่านั้น เช่น เครื่องขยายเสียงแบบประกาศ รถโฆษณา เป็นต้น เครื่องขยายเสียงที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้ *ขยายสัญญาณเสียงได้สม่ำเสมอ และไม่ผิดเพี้ยน *ไม่มีสัญญาณรบกวน เช่นเสียงฮัม เสียงซิกๆๆ แซกๆๆ *ทนทาน *ราคาเหมาะสม ไม่แพงเกินไป *ซ่อมง่าย หาอะไหล่ง่าย
|
|
|
13
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: สารกึ่งตัวนำ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:20:12 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:20 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า จึง เป็นสารที่เราสามารถควบคุมคุณสมบัตินำไฟฟ้าของมันได้ โดยการเติมสารเจือปนลงไปใน ขณะที่เตรียมสารกึ่งตัวนำนั้น ๆในเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ เราจะพบเห็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ อยู่ในนั้น อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำบางชนิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขาต่อ ๒ ขา เรียกว่า ไดโอด ทำหน้าที่ดัดกระแสไฟฟ้าอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำบางชนิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขาต่อ ๓ ขา เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวปิดเปิดสัญญาณไฟฟ้า หรือทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำบางชนิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขาต่อหลายสิบขา เรียกว่า วงจรไอซี ทำ หน้าที่เป็นวงจรตรรก วงจรจำ วงจรขยายสัญญาณ วงจรปรับแรงดัน วงจรกำหนดความถี่ ฯลฯ สารกึ่งตัวนำจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด สารกึ่งตัวนำที่นำมาผลิตเป็นอุตสาหกรรมมากที่สุด ได้แก่ ซิลิคอน ซึ่งเป็น ธาตุที่ถลุงได้จากทราย ซิลิคอนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากที่สุดในโลก ทำให้อุปกรณ์ สารกึ่งตัวนำมีราคาถูก มีขนาดจิ๋ว น้ำหนักเบา จึงทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่ที่ใช้ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำมีขนาดกะทัดรัด และกินไฟฟ้าน้อย สารกึ่งตัวนำจึงเปรียบเสมือน วัสดุพื้นฐานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน
|
|
|
14
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: แผ่นใสเรื่อง electronic
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:19:19 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:19 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า Doping Silicon คือ การควบคุมความสามารถการนำไฟฟ้าในผลึกซิลิคอน จึงทำได้โดยการโดปธาตุอื่นๆเข้ามาทำให้เกิดความไม่บริสุทธิ์ในตัวผลึก ซึ่ง เราสามารถโดปได้ 2 แบบ คือ 1. N-type doping ทำให้ซิลิคอนกลายเป็นผลึกตัวนำโดยการเติม P หรือ As ลงไป 2. P-type doping ทำให้ผลึกซิลิคอนขาดอิเล็กตรอนไป 1 ตัว โดยการเติม B หรือ Ga ลงไป Diodde เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างง่าย มีสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทางเดียวในทิศทางการไหลในทิศทางเดียวของการไบแอสตรง
|
|
|
15
|
ฟิสิกส์ 2 / ทรานซิสเตอร์ / Re: ชอคลีย์ บราตเตน และบาร์ดีน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:18:07 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:18 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ทรานซิลเตอร์เป็นผลงานของความอยากรู้อยากเห็นทางวิทยาศาสตร์และม่คาดหวังของ วิลเลียมชอคลีย์ วอลเตอร์ บราจเตน และจอนห์น บาร์ดีน ทรานซิสเตอร์ใช้งานได้เหมือนกับหลอดสูญญากาศเกือบทุกแบบ โดยไม่ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น กินกำลังไฟฟ้ามากกว่ามากมายมหาศาลคงทนอยู่ได้ไม่มีกำหนด และไว้ว่างใจได้เกือบ 100 % ปัจจุบันทรานซิสเตอร์กำลังถูกผลิตเป็นจำนวนล้าน ๆ แม้กระทั่งใช้ขยายสัญญาณในวิิทยุและช่วยในการได้ยิน ใช้เปิดและปิดวงจรในระบบโทรศัพท์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้กระทั่งใช้กระตุ้นการเต้นของหัวใจมนุษย์
|
|
|
16
|
ฟิสิกส์ 2 / ไฟฟ้ากระแสสลับ / Re: การทดลองเสมือนเรื่องการสั่นในวงจร LC
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:15:36 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:15 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ในห้องทดลองนี้ เป็นวงจรไฟฟ้าสลับแบบง่าย ประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำ เมื่อ C จ่ายไฟให้ L Lจะแสดงอำนาจของสนามแม่เหล็กออกมา เมื่อประจุ C น้อยลง สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจะยุบตัวกลับ ตัดผ่านกับขดลวด เกิดเป็นกระแสไฟฟ้าไปชาร์จไฟใน C อีกครั้ง วนเช่นนี้
|
|
|
17
|
ฟิสิกส์ 2 / ไฟฟ้ากระแสสลับ / Re: วีดีโอเรื่อง กัลวานอมิเตอร์(Galvanometer)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:14:43 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:14 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเสมือนขดลวดเป็นแม่เหล็กเสีย เองและผักดูดกับแม่เหล็กถาวรที่ล้อมขดลวดอยู่ เข็มที่ติดกับขดลวดจะเบนตามไปด้วย แต่จะเบนมากน้อยตามขนาดกระแส กระแสไฟฟ้านั้นเกิดจากการเหนี่ยวนำ หรือ Inductor เกิดจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างแท่งแม่เหล็กกับขดลวด ตามกฎมือขวาของฟาราเดย์ซึ่งใช้นิ้วชี้แทนทิศเส้นแรงแม่เหล็ก นิ้วหัวแม่มือแทนทิศการเคลื่อนที่ของเส้นลวด ส่วนการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้านั้นจะไหลไปตามทิศทางของนิ้วกลางและจะ สัมพันธ์กันเช่นนี้เสมอ
|
|
|
18
|
ฟิสิกส์ 2 / ไฟฟ้ากระแสสลับ / Re: เทสลาบอล
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:13:31 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:13 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เทสลาคอยส์ เป็นหม้อแปลงที่อาศัยหลักการเรโซแนนท์ในวงจรไฟฟ้า โดยมีแกนเป็นอากาศ เทสลาคอยส์สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าได้สูงมากอย่างน่าตกใจ ! พวกสร้างภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นิยมนำไปใช้ เมื่อพวกเขาต้องการให้ในภาพยนตร์ของเขามีฉากฟ้าผ่า หรือการสปาร์กของกระแสไฟฟ้า ยกตัวอย่างหนังเรื่องคนเหล็กภาค 2 (terminator II) ฉากเริ่มต้นที่หุ่นยนต์จากอนาคตเคลื่อนที่ผ่านมิติมาที่เวลาในปัจจุบัน ในเรื่องจะเห็นประกายไฟฟ้าสปาร์กขึ้นอย่างน่ากลัว และหุ่นยนต์ก็มาปรากฎกายขึ้น เบื้องหลังฉาก ผู้กำกับต้องไปติดต่อนักฟิสิกส์ ให้มาต่อเทสลาคอยส์ให้
|
|
|
19
|
ฟิสิกส์ 2 / ไฟฟ้ากระแสสลับ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง การเกิดเรโซแนนท์ในวงจร RLC อนุกรม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:11:23 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:010 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ในวงจรรีโซแนนท์ RLC อนุกรม และมีแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับให้กับวงจร สรุปได้ว่า - ตัวเก็บประจุจะตอบสนองความถี่สูงๆๆได้ดี (ค่าความจุน้อยๆ) - ขดลวดตัวเหนี่ยวนำจะตอบสนองความถี่ต่ำได้ดี โดยการปรับค่าความจุของตัวเก็บประจุและค่าความเหนี่ยวนำของขดลวดตัวเหนี่ยวนำ และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระแส
|
|
|
20
|
ฟิสิกส์ 2 / ไฟฟ้ากระแสสลับ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:10:03 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:09 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า จากการทดลองวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และขดลวดตัวเหนี่ยวนำ สรุปคือ 1.ตัวต้านทานไม่มีผลต่อความถี่ 2.ตัวเก็บประจุมีผลต่อความถี่ และเฟสของสัญญาณไฟฟ้าคือ กระแสนำหน้าแรงดัน 3.ขดลวดตัวเหนี่ยวนำมีผลคือ แรงดันไฟฟ้านำหน้ากระแส
|
|
|
21
|
ฟิสิกส์ 2 / ไฟฟ้ากระแสสลับ / Re: แผ่นใสเรื่อง กระแสสลับ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:08:49 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:05 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า สรุปเนื้อหามีหัวข้อดังนี้ - แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ - อิมพีแดนซ์ - มุมเฟส - อิมพีแดนซ์เชิงซ้อน (Complex impedance) - เฟเซอร์ (Phasor) - วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ - วงจรรีโซแนนซ์ อุปกรณ์ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับมี 3 ตัวด้วยกันคือ 1.ตัวต้านทาน Resistor, R หน่วยเป็น ohm, 2.ตัวเหนี่ยวนำ Inductor, L หน่วยเป็น henry, H 3.ตัวเก็บประจุ Capacitor, C หน่วยเป็น farad, F
ทำไมตัวเก็บประจุ C จึงทำให้กระแสมีเฟสนำโวลเตจ ? เนื่องจากกระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุจะทำให้เกิดประจุสะสมที่เพลทของตัวเก็บประจุ เป็นผลให้เกิดโวลเตจตกคร่อมตัวเก็บประจุซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับประจุที่สะสม (V = q/C) และกระแสจะไหลได้น้อยลงเมื่อมีประจุสะสมมากขึ้น เรโซแนนซ์แบบขนาน •Z มีค่าเป็นอนันต์ •กระแสในวงจรมีค่าเป็นศูนย์ •โวลเตจตกคร่อม R มีค่าเป็นศูนย์
|
|
|
22
|
ฟิสิกส์ 2 / การเหนี่ยวนำ / Re: ลำโพง
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:03:21 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:01 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เสียงเป็นคลื่นตามยาว เสียงแหลมและทุ้มขึ้นกับความถี่ ส่วนสียงดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับขนาดแอมพลิจูดของคลื่นนั้น เมื่อเราต้องการจะนำเสียงที่บันทึกกลับออกมา ภายในเครื่องเล่นเหล่านี้จะมีหัวอ่านคอยอ่านสัญญาณทางไฟฟ้าที่บันทึกอยู่ในเนื้อเทป ซึ่งในขณะที่อ่านยังเป็นสัญญาณที่อ่อนมาก จึงต้องนำเข้าเครื่องขยายสัญญาณก่อน เมื่อได้สัญญาณที่แรงพอแล้วจึงขับออกทางลำโพง กลายเป็นเสียงออกมา หน้าที่สำคัญสุดของลำโพงคือ เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่ดีจะต้องสร้างเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมมากที่สุด โดยมีการผิดเพี้ยนน้อยที่สุด ลำโพงที่ขายกันอยู่ทั่วๆไป มีเฟรมที่ทำด้วยโลหะ ที่ยอดกรวยติดแม่เหล็กถาวร และมีแผ่นไดอะแฟรมทำด้วยกระดาษ การทำงานของคอยส์เสียงใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้จากกฎของแอมแปร์ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในขดลวดหรือคอยส์ ภายในคอยส์จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้แท่งเหล็กที่สอดอยู่เป็นแม่เหล็กไฟฟ้า ปกติแม่เหล็กจะมีขั้วเหนือและขั้วใต้ ถ้านำแม่เหล็กสองแท่งมาอยู่ใกล้ๆกัน โดยนำขั้วเดียวกันมาชิดกันมันจะผลักกัน แต่ถ้าต่างขั้วกันมันจะดูดกัน ด้วยหลักการพื้นฐานนี้ จึงติดแม่เหล็กถาวรล้อมคอยส์เสียงและแท่งเหล็กไว้ เมื่อมีสัญญาณทางไฟฟ้าหรือสัญญาณเสียงที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับป้อนสัญญาณให้กับคอยส์เสียง ขั้วแม่เหล็กภายในคอยส์เสียงจะเปลี่ยนทิศทางตามสัญญาณสลับที่เข้ามา ทำให้คอยส์เสียงขยับขึ้นและลง ซึ่งจะทำให้ใบลำโพงขยับเคลื่อนที่ขึ้นและลงด้วย ไปกระแทกกับอากาศ เกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้น ถ้าเป็นเครื่องเสียงระบบโมโน ลำโพงจะมีอันเดียว แต่สำหรับเครื่องเสียงที่เป็นระบบเสตอริโอ ลำโพงจะมี 2 ข้าง คือข้างซ้าย และข้างขวา เครื่องขยายเสียงทุกประเภท จะต่อเข้ากับสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งกระแสไฟฟ้ามีการเคลื่อนที่สลับทิศทางอยู่ตลอดเวลา แต่ก่อนที่จะป้อนเข้าลำโพง สัญญาณที่อ่านได้จากเทปแม่เหล็ก แผ่นซีดี หรือ เครื่อง MP3 จะต้องได้รับการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อน จึงจะสามารถขับออกทางลำโพงได้ ใบลำโพงทำด้วยกรวยกระดาษ ติดอยู่กับคอยส์เสียง เมื่อคอยส์เสียงสั่นขึ้นและลงตามสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ มันจะทำให้ใบลำโพงสั่นขึ้นลงด้วย ใบลำโพงจะติดอยู่บนสไปเดอร์ ที่ทำหน้าที่เหมือนสปริง คอยดึงใบลำโพงที่สั่นสะเทือนให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมเสมอ เมื่อไม่มีสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าลำโพง
|
|
|
23
|
ฟิสิกส์ 2 / การเหนี่ยวนำ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง กฏการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:02:24 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:00 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เลือก Faraday's Experiment I (การทดลองของฟาราเดย์ I) คุณสามารถใช้เคอร์เซอร์ จับคอยส์หรือแม่เหล็ก เคลื่อนที่ขึ้นหรือลงได้ ให้เปลี่ยนเคอร์เซอร์ไปที่แม่เหล็ก กดเมาส์ค้างไว้ แล้วจับแม่เหล็กใส่เข้าไปในขดลวด สังเกตดูว่า อะไรเกิดขึ้นกับกัลวานอมิเตอร์ ลูกศรสีเหลือง -การเลื่อนคอยส์ลงโดยที่แท่งแม่เหล็กอยู่กับที่ ลูกศรสีเหลืองจะชี้ไปทางขวาและกัลวานอมิเตอร์จะวิ่งไปทางลบ ส่วนถ้าเลื่อนคอยส์ขึ้นบนลูกศรสีเหลืองจะชี้ไปทางซ้ายและกัลวานอมิเตอร์จะวิ่งไปทางบวก -ถ้าเราเลื่อนแท่งแม่เหล็กลง กัลวานอมิเตอร์อยู่นิ่งกับที่ ลูกศรสีเหลืองจะชี้ไปทางซ้ายและกัลวานอมิเตอร์จะวิ่งไปทางลบ ถ้าเราสังเกตดีๆจะเหมือนกับการที่เราเลื่อนกัลวานอมิเตอร์ขึ้น ทิศทางลูกศรและค่าจากกัลวานอมิเตอร์จะเหมือนกัน ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกระแสไฟฟ้ามีอยู่ 3 ข้อ คือ 1.จำนวนรอบของขดลวดอาร์เมเจอร์ ยิ่งจำนวนขดลวดมากยิ่งผลิตกระแสได้มาก 2.ความเข้มของสนามแม่เหล็ก ยิ่งความเข้มมากยิ่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก 3.ความเร็วรอบของขดลวดอาร์เมเจอร์ ยิ่งความเร็วรอบมากยิ่งผลิตกระแสไฟได้มาก อิเล็กตรอนประจุที่เป็นลบ จะวิ่งสวนทางกับกระแสไฟฟ้า กฎของเลนส์ (Lenz's Law) ซึ่งอธิบายได้ว่า สนามแม่เหล็กเนี่ยวนำจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับฟลักซ์
|
|
|
24
|
ฟิสิกส์ 2 / การเหนี่ยวนำ / Re: มอเตอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:01:09 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:00 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า ส่วนประกอบของมอเตอร์ จากมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 2 ขั้ว ซึ่งส่วนประกอบพื้นฐานมีอยู่ 6 ชิ้น ดังนี้ 1.อาร์เมเจอร์หรือโรเตอร์ 2.คอมมิวเตเตอร์ 3.แปรง 4.เพลา 5.แม่เหล็ก 6.เครื่องจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง DC แท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง โดยแท่งในเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า อาร์มาเจอร์ ขณะที่แม่เหล็กด้านนอกเป็นแม่เหล็กถาวรรูปเกือกม้า (หรือจะเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้สำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดเล็ก มักจะใช้แม่เหล็กถาวรเพื่อประหยัดพลังงาน ) อาร์มาเจอร์จะหมุนไปได้เนื่องจากการผลักของแม่เหล็ก และต้องมีการกลับขั้วของแม่เหล็กขณะที่หมุนไปครึ่งรอบ ทำให้เกิดแรงผลักอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ใช้ในการกลับขั้วของแม่เหล็กคือ คอมมิวเตเตอร์ และแปรง
|
|
|
25
|
ฟิสิกส์ 2 / การเหนี่ยวนำ / Re: อแดปเตอร์แปลงไฟขนาดเล็ก (Adaptor)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:00:07 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:00 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า จะเห็นขดลวดอยู่ 2 อัน อันแรกเป็นขดลวดชุดแรก อันที่สองเรียกว่าขดลวดชุดที่สอง ไฟฟ้าสลับขนาด 220 โวลต์ จะเข้ามาที่ขดลวดชุดแรก และเหนี่ยวนำให้ขดลวดชุดที่สองเกิดกระแสไฟฟ้าสลับขึ้น เป็นไปตามกฎทางฟิสิกส์ที่ว่า ถ้าจำนวนขดลวดทั้งสองเท่ากัน ไฟฟ้าที่ไหลเข้าจะเท่ากับไฟฟ้าที่ไหลออก แต่ถ้าขดแรกพันมากกว่าขดที่สองเป็นจำนวน 2 เท่า แรงดันไฟฟ้าที่ขดลวดชุดที่สองจะลดลงครึ่งหนึ่ง ดังนั้นถ้าต้องการให้ไฟบ้านลดลงเหลือ 3 โวลต์ ขดลวดชุดแรกจะต้องมีจำนวนมากกว่าชุดที่สองอยู่ 73 เท่า
|
|
|
26
|
ฟิสิกส์ 2 / การเหนี่ยวนำ / Re: การสั่นในวงจร LC
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 12:58:34 am
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 01:00 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เมื่อตัวเก็บประจุมีประจุอยู่เต็มมีพลังงานสะสมอยู่ Q^2 max/2C กระแสไฟฟ้าจะเป็นศูนย์จึงไม่มีพลังงานสะสมในตัวเหนี่ยวนำ เมื่อตัวเก็บประจุเริ่มคายประจุ พลังงานที่สะสมอยู่ในสนามไฟฟ้าเริ่มลดลง ในเวลาเดียวกันกระแสไฟฟ้าจะเริ่มไหลทำให้มีการสะสมพลังงานในสนามแม่เหล็กของตัวนำ ดังนั้นเราจะกล่าวได้ว่ามีการถ่ายเทพลังงานจากตัวเก็บประจุให้ตัวเหนี่ยวนำ และเมื่อตัวเก็บประจุคายพลังงานให้ตัวเหนี่ยวนำจนหมด พลังงานทั้งหมดจะสะสมในตัวเหนี่ยวนำ ต่อจากนั้นจะมีการคายพลังงานให้ตัวเก็บประจุเป็นวัฎจักร จึงมีการสั่นของพลังงานสลับกันระหว่างตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำ
|
|
|
27
|
ฟิสิกส์ 2 / การเหนี่ยวนำ / Re: แผ่นใสเรื่อง ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 11:02:02 pm
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 23:01 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า -กฎการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของ Faraday “แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในวงจรใดๆ มีค่าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กผ่านวงจรนั้นเทียบกับเวลา” -กฎการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของ Lenz “แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเกิดในทิศทางที่ส่งผลต้านการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กที่เป็นต้นกำเนิดของมัน” -สภาพเหนี่ยวนำ (Inductance) กระแสที่ไหลผ่านขดลวดโซลินอยด์ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กภายในฟลักซ์แม่เหล็กที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในทิศทางต้านการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า
|
|
|
28
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็ก / Re: เข็มทิศ (compass)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 10:58:28 pm
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 22:58 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เหตุผลที่ว่าทำไมเข็มทิศจึงชี้ไปทางขั้วเหนืออยู่เสมอ ก็เพราะว่า โลกของเราเปรียบได้กับแท่งแม่เหล็กขนาดใหญ่ โดยเราตั้งมาตรฐานร่วมกันว่า แม่เหล็กที่อยู่ในโลกขั้วเหนือของโลกให้เป็นขั้วใต้ของแท่งแม่เหล็กโลก จากปรากฎการณ์ทางแม่เหล็กที่ว่า ถ้าขั้วแม่เหล็กเหมือนกันวางไว้ใกล้กันจะผลักกัน และถ้าขั้วต่างกันจะดูดกัน ดังนั้นถ้าเราวางเข็มทิศ และให้เข็มชี้ไปทางเหนือ แสดงว่า แท่งแม่เหล็กโลกต้องเป็นขั้วใต้อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ สนามแม่เหล็กโลกมีขนาดน้อยมากเมื่อวัดบนผิวโลก เป็นเพราะเส้นผ่าศูนย์กลางของโลกมีขนาดถึง 12,000 กิโลเมตร ดังนั้นเข็มทิศจึงต้องทำจากแท่งแม่เหล็กที่มีขนาดเบา และวางอยู่บนผิวลื่นที่ไม่มีแรงเสียดทาน ซึ่งจะทำให้หมุนได้ง่ายและคล่องแม้มีแรงที่เกิดจากสนามแม่เหล็กที่น้อยมากดังเช่นสนามแม่เหล็กโลก
|
|
|
29
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็ก / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง การเคลื่อนที่ของประจุในสนามแม่เหล็ก
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 10:57:25 pm
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 22:57 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า เมื่อประจุไฟฟ้าวิ่งโดยมีทิศทางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กที่มีขนาดสม่ำเสมอ ประจุไฟฟ้านั้นจะวิ่งเป็นวงกลม แต่ถ้ามันวิ่งโดยทำมุมกันสนามแม่เหล็กประจุไฟฟ้าจะหมุนเป็นวงกลมแบบเกลียว ประจุไฟฟ้าที่วิ่งเป็นเกลียวอยู่ในสนามแม่เหล็กที่มีขนาดไม่สม่ำเสมอ และสนามแม่เหล็กมีขนาดมากพอจะสามารถเก็บกักอิเล็กตรอนให้วิ่งอยู่ภายในได้ การเก็บกักประจุฟ้าในลักษณะนี้ว่า ขวดแม่เหล็ก (Magnetic bottle) ขณะที่ดวงอาทิตย์ประทุขึ้นอณุภาคอิเล็กตรอนและโปรตรอนจากดวงอาทิตย์พุ่งมายังโลก และถูกสนามแม่เหล็กโลกจับไว้ทำให้ประจุไฟฟ้าหมุนเป็นวงเกลียวอยู่บนท้องฟ้า กระทบกับอณุภาคของอากาศปลดปล่อยพลังงานแสงออกมาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ขั้วโลกเหนือ หรือใต้
|
|
|
30
|
ฟิสิกส์ 2 / สนามแม่เหล็ก / Re: แผ่นใสเรื่อง กฎของบิโอต์-ซาร์วารต์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 10:56:04 pm
|
นายอภิรักษ์ มีศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ Sec.04 เรียนกับอาจารย์ จรัส บุณยธรรมา ตอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 22:56 น. ที่หอพัก AP แมนชั่น มีความคิดเห็นว่า สนามแม่เหล็ก กฎของบิโอต์-ซาร์วารต์ -แม่เหล็ก ขั้วต่างกันออกแรงดูดกัน (n,s),(s,n) ขั้วเหมือนกันออกแรงดูดกัน (n,n),(s,s) -ไม่มีแม่เหล็กขั้วเดียวและประจุไฟฟ้าเดี่ยว -ในระบบ SI สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีหน่วย N/(cm/s) หรือ เทสล่า (T) -เส้นแรงแม่เหล็กมีทิศชี้จากขั้วเหนือไปขั้วใต้
|
|
|
|