แสดงกระทู้
|
หน้า: [1] 2 3 4
|
1
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: แบบจำลองอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 09:02:02 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 21.01 น. ณ ร้านเน็ต
หลักการของทอมสันคือ 1. อะตอมเป็นรูปทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมเป็นประจุบวกและมีอิเล็กตรอนเป็นประจุลบ กระจายอย่างสม่ำเสมอโดยปริมาณของประจุลบและบวกจะเท่ากัน 2. ทอมสันได้เสนอวิธีการจัดเรียงอะตอมให้มีความเสถียรมากที่สุด หลักการทดลองของรัทเธอร์ฟอร์ด 1.อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใดๆ 2. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมทุกทิศทางเท่ากัน 3. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใดๆทั้งที่ส่วนใหญ่ผ่านเป็นแนวตรง
|
|
|
2
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์นิวเคลียร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 06:19:13 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.19 น. ณ ร้านเน็ต
สรุปว่า
สารกัมมันตภาพรังสี คือ ธาตุที่สามารถให้พลังงานออกมาในรูปของอนุภาค ได้แก่ แอลฟา บีต้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น รังสีแกมมา เกิดจากการที่มีนิวเคลียสของธาตุเหล่านี้อยู่ในสภาวะไม่เสถียรนิวเคลียสเหล่านี้จะปลดปล่อยพลังงานออกมาจึงกระทั่งนิวเคลียสเหล่านี้อยู่ในสภาวะเสถียร ชนิดของรังสีมี3ชนิดคือ 1.รังสีแอลฟา ประจุไฟฟ้าเป็นบวก 2.รังสีแกมมา ประจุไฟฟ้าเป็นกลาง 3.รังสีบีตา ประจุไฟฟ้าเป็นลบ องค์ประกอบของนิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
|
|
|
3
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: ทดสอบออนไลน์เรื่องระเบิดนิวเคลียร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 06:17:24 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.17น. ณ ร้านเน็ต
เรื่องนิวเคลียร์ ทำ 5 ข้อ ได้ 2 ข้อ
|
|
|
4
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ไอโซโทป
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 06:02:07 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.02น. ณ ร้านเน็ต
นอกจากโปรตอนแล้ว นิวเคลียสยังมีนิวตรอนซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าผสมอยู่ด้วย เราอาจเพิ่มหรือลดนิวตรอนได้โดยที่ธาตุนั้นจะไม่กลายแปรเป็นธาตุอื่นเลย ธาตุนั้นเพียงแต่หนักขึ้นหรือเบาลงนิดหน่อยเท่านั้นเอง ชนิดต่างๆ ของธาตุเดียวกันนี้เราเรียกว่า ไอโซโทป (isotope) เราไม่อาจบอกความแตกต่างของ ไอโซโทปของธาตุเดียวกันได้โดยวิธีเคมีธรรมดา เพราะมันมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่อาจจะมีกัมมันตภาพรังสีต่างกัน ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่ายูเรเนียม -238 และยูเรเนียม -235 นี่ก็เป็นไอโซโทปสองชนิดของยูเรเนียมอะตอมของยูเรเนียมชนิดแรกมีโปรตอน 92 ตัว และนิวตรอน 146 ตัว ส่วนอะตอมของยูเรเนียมชนิดหลัง คือ ยูเรเนียม -235 มีโปรตอน 92 ตัวและนิวตรอน 143 ตัว นอกจากยูเรเนียมสองชนิดนี้จะมีน้ำหนักต่างกัน และสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีต่างกันแล้ว อย่างอื่นถือได้ว่าเหมือนกัน
|
|
|
5
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: โครงการแมนแฮตตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 05:53:29 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.53 น. ณ ร้านเน็ต
จากปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของพลังงานเกิดขึ้น คือพลังงานที่เปลี่ยนแปลงสามารถอธิบายได้ด้วยสมการ E = MC2 ของไอน์สไตน์ หมายถึงว่าที่ไอน์สไตน์ ประกาศไว้ก่อนหน้านี้นั้นไม่ได้เป็นเรื่องเหลวไหล แต่เป็นกุญแจที่ไขไปสู่การปลดปล่อยขุมพลังอันมหาศาลที่มีอยู่ในอะตอม ให้เป็นพลังงานนิวเคลียร์ ไอน์สไตน์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1921 หลังจากฮิตเลอร์เรืองอำนาจ ไอน์สไตน์ ก็ลี้ภัยจากเยอรมันไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา วงการฟิสิกส์ในยุโรปและในสหรัฐอเมริกาต่างก็พัฒนาความรู้เกี่ยวกับอะตอมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปี ค.ศ. 1932 เจมส์ แชดวิก นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้พบว่า ในนิวเคลียสของอะตอมนั้น ไม่ได้มีแต่เพียงอนุภาคโปรตอนซึ่งมีประจุบวกเท่านั้น แต่นิวเคลียสยังประกอบด้วยอนุภาคอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสถานะเป็นกลางทางไฟฟ้า คือไม่มีประจุ แชดวิกเรียกอนุภาคที่ค้นพบใหม่นี้ว่า นิวตรอน ซึ่งมีความหมายตามรากศัพท์ว่า เป็นกลาง การค้นพบนิวตรอนนี้ทำให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นในวงการฟิสิกส์ด้านอะตอมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ปัญหาที่เคยเป็นปริศนาหลายเรื่องได้รับการแก้ไขให้กระจ่าง
|
|
|
6
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: การทดลองเสมือน เรื่องการหาอนุกรมการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 05:42:08 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.41 น. ณ. ร้านเน็ต
สรุปได้ว่า เมื่อเลือกTh232 จะเห็นว่าแท่งกราฟสีแดงจะลดลงอย่างลวดเร็วและแท่งกราฟPb208จะพุ่งสูงขึ้นและtimestep 1.39 เมื่อเลือก u238 จะเห็นว่ามีตัวธาตุเพิ่มขึ้น u234 Th230 Ra226 Pb210 Pb206 กราฟจะพุ่งขึ้นทางด้าน pb210 ตามลำดับ และจะค่อยๆลดลงแต่แท่งกราฟจะไม่สูงขึ้นจนสุด แต่ธาตุ Pb206 จะใม่ลง เมื่อ เลือกPu2411 จะเห็นว่ามีธาตุ Pu241 Am241 Np237 U233 Th229 เมือกดปุ่ม Animate จะเห็นว่ามีการพุ่งขึ้นของกราฟทั้งหมดโดยเรียงตามลำดับ จากนั้นจะค่อยลดลง
|
|
|
7
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: หญิงเหล็กกับเรเดียม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 05:26:29 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.26 น. ณ. ร้านเน็ต
วันที่ 7 พฤศจิกายน 1867 เด็กหญิงมาเรีย ซาโลมี สโกล์ดอฟสกาถือกำเนิดบนถนนเฟรตา ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ บิดามารดาของเธอเป็นครู ทั้งคู่มีลูกอยู่ 4คน คือ โซเฟีย โบรนิสลาวา ( โบรเนีย) เฮเลนา และบุตรชาย โจเซ็ฟ มารี สโกล์ดอฟสกา เกิดในบ้านเลขที่ 16 ถนนเฟรตา กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ อาคารหลังนี้ ได้รับการบูรณะเพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงผลงานและชีวิตของมารี กูรี มารี กูรี เป็นหนึ่งในคณะผู้บุกเบิกในการวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสีเธอเป็นผู้ค้นพบเรเดียม ซึ่งเปล่งกัมมันตภาพรังสีออกมาโดยธรรมชาติในขณะที่อะตอมแตกตัว เธอศึกษาค้นคว้าวิจัยในยุคที่ยังไม่มีใครรู้จักมหันตภัยของกัมมันตภาพรังสี ต้องดิ้นรนทำงานด้วยความขาดไร้ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนสนับสนุน หรือการยอมรับนับถือจากสังคมรอบด้าน ทำงานหนักสายตัวแทบขาดทั้งๆที่ป่วยไข้ในระดับที่ไม่มีมนุษย์คนไหนทานทนได้ และต้องฝืนกระแสความเชื่อประจำยุคนั้นที่ว่า ผู้หญิงไม่มีทางเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ ในท้ายที่สุด มารีกูรี ก็ประกาศศักดิ์ศรีนักวิทยาศาสตร์ให้ผู้คนประจักษ์กันทั่วโลก เธอได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง เธอรณรงค์หาทุนเพื่องานวิจัยทิ้งไว้ให้เป็นมรดกคนรุ่นหลัง ผลงานวิจัยของมารี กูรี และคณะ ไขปริศนาดำมืดเรื่อง อะตอมและกัมมันตภาพรังสี จนส่งแสงเรืองรองให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
|
|
|
8
|
ฟิสิกส์ 2 / นิวเคลียร์ / Re: นิวเคลียร์และการใช้ประโยชน์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 05:11:07 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.11น. ณ. ร้านเน็ต
2.ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ในกิจการต่างๆ 2.1 กิจการอุตสาหกรรม การใช้วัสดุกัมมันตรังสี และเทคนิคทางรังสีในทางอุตสาหกรรม ซึ่งเรียกว่า เทคนิคเชิงนิวเคลียร์ -ใช้วัดระดับของไหล สารเคมีต่างๆ ในขบวนการผลิตในโรงงานเส้นใยสังเคราะห์ด้วยรังสีแกมมา -ใช้ตรวจสอบระดับเศษไม้ในหม้อนึ่งภายใต้ความดันสูง ในการผลิตไม้อัดแผ่นเรียบด้วยรังสีแกมมา 2.2 ด้านการแพทย์และอนามัย เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) คือการนำเอาสารรังสีหรือ รังสีมาใช้ในการตรวจ การรักษา และด้านการค้นคว้าศึกษาการทำงานของระบบอวัยวะในร่างกายเพื่อช่วยในการตรวจวิเคราะห์หรือรักษาโรค บรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และย่นระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล ตัวอย่างบางส่วนของการใช้สารรังสี หรือรังสีด้านการแพทย์ เช่น -การรักษาโรคมะเร็งด้วย โคบอลต์-60 -เม็ดทองคำ-198 ในการรักษามะเร็งผิวหนัง 2.3 ด้านการเกษตร ชีววิทยา และ อาหาร ประเทศไทยมีการเกษตรเป็นอาชีพหลักของประชากร โครงการใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการเกษตร เป็นต้นว่าการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพ ของผลิตผลซึ่งกำลังแพร่ขยายออกไปสู่ชนบทมากขึ้น -การใช้เทคนิคนิวเคลียร์วิเคราะห์ดิน เพื่อการจำแนกพื้นที่ปลูก ทำให้ทราบว่า พื้นที่ที่ศึกษาเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชชนิดใด ควรเพิ่มปุ๋ยชนิดใดลงไป -เทคนิคการสะกดรอยด้วยรังสีใช้ศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึมแร่ธาตุ และปุ๋ยดดยต้นไม้และพืชเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานนิวเคลียร์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมใน 2 ด้าน คือในด้านการรักษาและพัฒนาสภาพของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น อีกด้านหนึ่ง คือ การตรวจตรา ด้านการศึกษาและวิจัย พลังงานนิวเคลียร์ เป็นสิ่งที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ โดยการใช้อนุภาคหรือรังสีที่มีพลังงานสูง วิ่งไปชนนิวเคลียสของธาตุต่างๆ
|
|
|
9
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 04:38:02 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16.37 น. ณ. ร้านเน็ต
เลือกทำ 5 ข้อ ทำได้ 3 ข้อ
|
|
|
10
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: วีดีโอเรื่อง ต้นกำเนิดของแสงเลเซอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 04:30:00 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16.29 น. ณ. ร้านเน็ต
การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1960 โดย ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Laboratories) ทุกวันนี้เลเซอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลายพันล้านดอนล่าร์ ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอร์ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย มีให้เห็นอย่างเช่น แผ่นดีวีดี แผ่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องอ่านบาร์โค้ด อุปกรณ์ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเลเซอร์มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ หรือแม้กระทั่งด้านการทหาร ก็เพราะว่าเลเซอร์สามารถควบคุมความยาวคลื่นตามที่ต้องการได้
|
|
|
11
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง Frank-hertz
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 04:05:49 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16.05 น. ณ. ร้านเน็ต
ในปี ค.ศ. 1914 ได้มีการทดลองแสดงให้เห็นว่าสถานะนิ่งที่เป็นค่า ๆ ของอิเล็กตรอนในอะตอม (ตามสมมติฐานของบอร์) นั้นมีอยู่จริง จากการทดลองของแฟรงค์และเฮิรตซ์ เมื่ออิเล็กตรอนถูกปล่อยออกมาจากไส้หลอดที่ร้อน F จะเคลื่อนที่ไปยังแผ่น P ระหว่าง F และ P มีกริด G กั้นอยู่ อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่จาก F ไป G จะถูกเร่งด้วยความต่างศักย์ V0 แต่เมื่อเคลื่อนที่จาก G ไป P มีศักย์หน่วง (retarding potential) Vr ซึ่งมีค่าเพียงเล็กน้อย อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก F ไป P ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล Ip วัดได้ด้วยแอมมิเตอร์ A ความเร็วของอิเล็กตรอนหลังจากถูกปล่อยออกมาจาก F และเคลื่อนที่มาถึง G คือ เมื่อ มีค่าเพิ่มขึ้นความเร็วของอิเล็กตรอนมากขึ้นด้วย ในขณะที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก F ไปยัง P จะมีการชนกับอะตอมของธาตุที่อยู่ในสภาพเป็นไอ ซึ่งบรรจุไว้ในหลอดทดลอง ถ้าความเร็วของอิเล็กตรอนต่ำ การชนกันจะไม่สามารถกระตุ้นอะตอมได้ และอิเล็กตรอนเพียงแต่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่มาถึง G จึงมีพลังงานเหลือมากพอที่จะผ่านศักย์หน่วง Vr ไปยัง P ได้ เมื่อ เพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปถึง P ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มกระแส Ip ดังแสดงในรูป 8 และต่อมาเพื่อเพิ่ม จนกระทั่งถึงค่าหนึ่ง อิเล็กตรอนมีพลังงานมากพอที่จะชนกับอะตอมแล้วอะตอมถูกกระตุ้นในกรณีนี้อิเล็กตรอนจะสูญเสียพลังงานเกือบทั้งหมด เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้เคลื่อนที่ไปถึง G แล้วจะไม่มีพลังงานพอที่จะผ่านศักย์หน่วง Vr ดังนั้นกระแสจะลดลงอย่างรวดเร็ว และต่อมาเมื่อ เพิ่มขึ้นอีก กระแส Ip จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
|
|
|
12
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือน เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 10:47:43 am
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.47 น. ณ หอพัก
ใช้ หลักอาฟบาว (Aufbau principle) ในจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ใช้หลักของเพาลี ในการบรรจุอิเล็กตรอน คือ ในแต่ละออร์บิทัลจะบรรจุอิเล็กตรอนได้อย่างมากที่สุด 2 ตัว (มีสปินต่างกัน) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินขึ้น (spin up) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินลง (spin down) ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนคู่ในออร์บิทัล บรรจุ อิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานต่ำสุดที่ยังว่างก่อน (เรียงลำดับออร์บิทัลตามลูกศรในรูป) จนครบจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมดในอะตอมนั้น การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบนี้จะทำให้อะตอมมีสถานะเสถียรที่สุดเพราะพลังงาน รวมทั้งหมดของอะตอมมีค่าต่ำสุด
|
|
|
13
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง โครงสร้างอะตอม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 10:30:11 am
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.30 น. ณ หอพัก
หลักการของบอห์ร ที่สะท้อนมโนภาพนี้อย่างชัดเจนคือ ทฤษฎีความคล้องจอง (Correspondence Theory) และการเติมเต็ม (Principle of Complementarity) ซึ่ง ทั้งคู่เน้นความคล้ายกันแม้จะอยู่ใต้ความแตกต่างกัน นีลส์ บอห์ร เข้าใจมโนภาพของความกำกวม ณ ระดับลึกซึ้งที่สุด และงานของเขานี้ได้ค้นหาทางแก้ไขความกำกวมนี้ ไปสู่ความกลมกลืนกันได้ อย่างยิ่งใหญ่จากวัยเด็กที่ดูเหมือนบอห์รจะมีบุคลิกภาพขัดแย้งกับความเป็น อัจฉริยะของตนเอง ภาพวัยรุ่นตัวใหญ่ขี้อายใส่เสื้อลงแป้งแข็ง แก้มย้อย ริม ฝีปากหนา ท่าทางออกจะซุ่มซ่าม ไม่ได้บ่งบอกถึงความฉลาดเฉลียว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันสมองของเขาจะถูกเก็บกัก การเติบโตพร้อมกับน้องชายที่ดูจะมีอะไรดีกว่าเขาทั้งหมดไม่ได้สร้างปมในใจ เขาเลยสักนิด กลับผลักดันให้เขาสร้างผลงานอันยิ่งใหญ่เสียอีก การถูกเลี้ยงดูในครอบครัวของนักการศึกษามีส่วนให้บอห์รคิดเป็นอย่างมาก ที่บ้านของเขาทุกครั้งที่มีการถกเถียงทางวิชาการหลังมื้ออาหาร ทั้งสองพี่น้องบอห์รจะถูกบังคับให้นั่งฟังเงียบ อยู่ร่วมฟังแต่ห้ามออกเสียงไม่ว่าจะถาม หรือแสดงความคิดเห็น นี่คือแรงผลักอีกประการ ที่ทำให้บอห์รผู้พี่ต้องเป็นนักคิด ด้วยลักษณะที่ร่างกายไม่กระฉับกระเฉง ทุกครั้งที่ทำการทดลอง นีลส์ บอห์ร มักทำหลอดแก้ว เครื่องมือทดลองทั้งหลายแตกหักอยู่เสมอ และนี่นับเป็นประการหนึ่งในปัจจัยที่บอห์รสร้างทฤษฎีควอนตัมได้จากความขัดแย้งและกำกวม
|
|
|
14
|
ฟิสิกส์ 2 / โครงสร้างของอะตอม / Re: Niels Bohr
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 03:08:47 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 15.08 น. ณ หอพัก
โดยบอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้บอร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อ จัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่ เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้ ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอน และอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน ที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุในก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และ จำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า "จำนวนอะตอมของธาตุ" และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม
|
|
|
15
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แผ่นใสเรื่อง ทฤษฎีควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 02:54:18 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.54 น. ณ หอพัก
ตามทฤษฏีควอนตัมของพลังค์ อะตอมดูดกลืนพลังงานเท่ากับผลคูณของเลขจำนวนเต็มบางค่ากับ hu (hu,2hu,3hu,…) 1. e- ในไฮโดรเจนอะตอมเคลื่อนที่เป็นวงกลม รอบนิวเคลียส e- ในอะตอมไม่สามารถมี พลังงานปริมาณใดๆ ได้ทุกค่า แต่จะอยู่ใน วงโคจรที่มีรัศมีบางค่า ซึ่งสอดคล้องกับ พลังงานบางค่าเท่านั้น 2. e- ในวงโคจรหนึ่ง เมื่อดูดกลืน/คายพลังงาน จะเปลี่ยนจากวงโคจรหนึ่งไปยังวงโคจรอื่น พลังงาน ที่ e- ดูดกลืน/คาย หาได้จาก Bohr equation = 1312.3 kJ/mol = Rydberg constantDE = E - En = Z2 1 n2 n jn n/ 2p2me4 h2 1 n/ 2 -2p2me4 h2พลังงานที่ e- ดูดกลืน/คายนี้ เป็นไปตามสมการ E = hu= 2.18x10-18 J/atom
|
|
|
16
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: วีดีโอ เรื่อง ฟิสิกส์ควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 02:33:10 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.33 น. ณ หอพัก
สรุปได้ว่า
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อว่า แม็กฟลักช์ เรียกกฎใหม่นี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม มันคือการค้นพบที่สำคัญทฤษฎีนี้เกิดในปี 1900 เพราะว่าเกิดการทำงานด้านฟิสิกส์มาก มีการค้นพบปรากฎการณ์ใหม่ที่ละเมิดกฎของนิวตัน ตัวอย่างเช่น มาตาม กิวรี ปรับปรุงสิ่งที่เรียกว่า เรเดียม เรเดียมมีคุณสมบัติพิเศษในการเรืองแสง อนุภาคเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า เพราะว่าพลังงานเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า ในปี 1900 คนคิดว่าสามารถตัดพลังงานไฟฟ้าได้ไม่รู้จบ แม็กฟลังก์บอกว่าพลังงานเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม เรียกว่า ควอนตัม แสงมาจากกลุ่มก้อน สสารมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น ควอนตัมเป็นก้าวเล็กที่สุดเกิดขึ้นในธรรมชาติ แต่กลับเป็นก้าวที่มีความยิ่งใหญ่ในด้านความคิดของมนุษย์เรา ทรัพย์อะตอมมิคอะตอมหรืออนุภาคต่าง ๆ ในอะตอม เช่น อิเล็คตรอนจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกธรรมดา แต่กลับเป็นเรื่องปรกติของอะตอมในโลกของทรัพย์อะตอมมิคอะตอมและส่วนประกอบ อื่น ๆ เป็นไปตามกฏที่แตกต่างของกฏของสารขนาดใหญ่โดยสิ้นเชิง
|
|
|
17
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การเคลื่อนย้ายมนุษย์ (Teleportation)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 02:19:39 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.19 น. ณ หอพัก
มนุษย์ปกติที่มีรูปร่างพอดี ประกอบด้วยอะตอมทั้งหมดประมาณ 1028 อะตอม คือมี เลข 0 อยู่หลังเลข 1 จำนวน 28 ตัว เครื่องจะต้องอ่านข้อมูลของอะตอมทุกๆตำแหน่ง และส่งข้อมูลไปยังที่ใหม่ เพื่อให้อะตอมในที่ใหม่จัดเรียงตัวกันตามข้อมูลนี้ กลายเป็นคนเดิม โดยที่คนเดิมในตำแหน่งเริ่มต้นหายไป (ถ้าไม่หายยุ่งแน่ กลายเป็นสองคน) ความคิดเหล่านี้ดูคล้ายความฝัน ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมีใครคิดว่าจะส่งเอกสารด้วยเครื่อง แฟกซ์ได้ ไม่เคยมีใครคิดว่า เราจะก็อปปี้เอกสารต้นฉบับ ได้เหมือนกับต้นฉบับทุกประการ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป จากนี้จนถึงอนาคตอันไกลโพ้น เราคงต้องไปอาศัยอยู่ ณ ดาวดวงอื่น ดังนั้นการเคลื่อนที่แบบเดิมที่ใช้เวลานาน คงยกเลิกไป และ การเคลื่อนที่แบบเทเลพอเทชั่น จะเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่พวกเราต้องพัฒนาขึ้นให้ได้
|
|
|
18
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 02:12:00 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.11 น. ณ หอพัก
เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการฟิสิกส์โลก เขาได้รับรางวัลโนเบล สายฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ.1932 ขณะมีอายุเพียง 31 ปี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "The Uncertainty Principle" หรือ หลักความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญหลักการหนึ่งของทฤษฎีควอนตัม และเป็นส่วนที่ทำให้ไอน์สไตน์ ไม่สู้จะสบายใจ เพราะไอน์สไตน์ไม่ชอบความไม่แน่นอน และเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการรวมแรงพื้นฐาน 4 ชนิด เข้าด้วยกัน
ใน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เป็นหัวหน้าโครงการสร้างระเบิดอะตอมของเยอรมนี และการดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าโครงการสร้างระเบิดอะตอมของไฮเซนเบิร์กนี้เอง ที่ไปกระตุ้นให้เกิดโครงการสร้างระเบิดอะตอม (คือ โครงการ แมนฮัตตัน) ของประเทศฝ่ายสัมพันธ มิตร จนกระทั่งระเบิดอะตอมถูกสร้างขึ้นมาได้สำเร็จ ถึงแม้จะปรากฏเป็นความจริงภายหลังสงครามว่า ไฮเซนเบิร์ก มิได้มีความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง ที่จะเร่งสร้างระเบิดอะตอม ของฝ่ายนาซีเยอรมันให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว
|
|
|
19
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: เออร์วิน ชโรดิงเจอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 02:02:19 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.02 น. ณ หอพัก
มีความเห็นในกระทู้ว่า สมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ เป็นสมการที่ใช้สำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในระดับ ควอนตัม หรือ Quantum Mechanics เช่น ระดับอิเล็กตรอนในอะตอม หรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคองค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุในจักรวาล สมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ มีรูปฟอร์ม ซึ่งใช้กันโดยทั่วไปมากที่สุด เป็นแบบง่ายๆ (พอๆ กับสมการของนิวตัน) คือ HA=EA แต่มีชื่อและความหมายซึ่งค่อนข้างแปลกและเข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่เกี่ยว ข้องกับฟิสิกส์โดยตรง เช่น Hamiltonian (H), Wave Function หรือ Eigenfunction (A) และ Eigenvalue (E) แต่ในการแปลความหมายอย่างให้เป็นรูปธรรม สมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ สามารถให้ความหมายได้อย่างที่เข้าใจไม่ยากนัก เช่น Hamiltonian เป็นส่วนเกี่ยวกับพลังงานรวม ต้นกำเนิดของการเคลื่อนที่ของอนุภาค หรือพลังงานแหล่งกำเนิดของสนามพลังงาน หรือ Energy Field (เช่น พลังงานจลน์ + พลังงานศักย์ของอิเล็กตรอนในอะตอม) Wave Function หรือ ฟังก์ชันคลื่น (A) เป็นส่วนเกี่ยวกับตำแหน่งของอนุภาค (เช่นของอิเล็กตรอนในอะตอม) และ Eigenvalue (E) เป็นส่วนเกี่ยวกับพลังงานของอนุภาคที่มีฟังก์ชันคลื่น A (เช่น พลังงานของอเล็กตรอนที่ระดับของฟังก์ชันคลื่น A) เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ เป็นชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม ค.ศ.1887 ที่กรุงเวียนนา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 เดือน มกราคม ค.ศ.1961 ที่บ้านเกิด คือกรุงเวียนนา) มีชีวิตที่ค่อนข้างจะโลดโผน เคยออกสนามรบแนวหน้าระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลี้ภัยจากนาซีเยอรมันในระหว่างการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ทั้งที่ตนเองไม่ใช่ยิว แต่มีจุดยืนแสดงออกชัดเจนต่อต้านนาซีเยอรมัน โดยความช่วยเหลือของนายกรัฐมนตรีของประเทศไอร์แลนด์ คือ อีมอน เดอ วาเลอรา (Eamon De Valera) ทว่าในบั้นปลายของชีวิต เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ก็เดินทางกลับไปทำหน้าที่นักฟิสิกส์คนสำคัญของออสเตรียในประเทศออสเตรีย จนกระทั่งถึงลมหายใจสุดท้าย เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ ได้รับรางวัลโนเบลประจำ ปี ค.ศ.1933 (ร่วมกับ พอล ดิแรก) สำหรับผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมและกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาสมการคลื่นของกลศาสตร์ควอนตัมหรือสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์นั่นเอง ที่มาของความคิดนำเออร์วิน ชโรดิงเจอร์ สู่การนำเสนอสมการคลื่นของเขา เริ่มต้นตั้งแต่จุดกำเนิดของทฤษฎีควอนตัม โดยบิดาแห่งฟิสิกส์ควอนตัม คือ มักซ์ พลางค์ (Max Planck) เมื่อปี ค.ศ.1900 ตามด้วยความคิดในวงการฟิสิกส์ควอนตัมต่อมาเรื่อง ความเป็นคลื่นและอนุภาคของทุกสิ่งทุกอย่างที่มักจะเข้าใจกันว่าเป็นคลื่น หรืออนุภาคเพียงอย่างเดียว และสำคัญที่สุดคือการนำเสนอความคิดเรื่องคลื่นอนุภาค หรือ Particle Wave โดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ เดอ บรอยล์ (Louis De Broglie) เมื่อปี ค.ศ.1923
|
|
|
20
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง ปรากฎการณ์คอมป์ตัน
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 01:48:14 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.48 น. ณ หอพัก
E = พลังงานจลน์รวมเริ่มต้นของโฟตอนก่อนชน หน่วยเป็น Kev E' = พลังงานจลน์ของโฟตอน ที่กระเจิง หน่วยเป็น Kev h = 6.62 x 10-34 จูล.วินาที c = 3 x 108 เมตร/วินาที่ Theta = มุมที่โฟตอนกระเจิง ปรากฏการณ์คอมป์ตันเป็นหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นธรรมชาติของคลื่นแม่ ไฟฟ้าว่า มีลักษณะเป็นอนุภาค ทั้งนี้คอมป์ตัน(A.H. Compton) ได้ศึกษาการกระเจิงของรังสีเอกซ์ โดยรังสีเอกซ์ทำอันตรกิริยากับอนุภาคเป้าแล้วเกิดการเบนของรังสีเอกซ์ หรือบางกรณีนอกจากการเบนรังสีแล้วความยาวคลื่นยังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วย กระบวนการนี้เรียนว่า การจระเจิง(scattering)
|
|
|
21
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง Photoelectric effect
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 01:32:08 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.32 น. ณ หอพัก
ปรากฏการณ์ที่แสงความถี่สูงๆเมื่อฉายไปยังโลหะ ทำให้โลหะสูญเสียประจุเรียกว่า photoelectric effect. ปรากฏการณ์ นี้จะเกิดขึ้นกับโลหะหลายชนิดถ้าความยาวคลื่นของแสงไม่มากเกินไป สำหรับโลหะแต่ละชนิดจะมีขีดจำกัดของความยาวคลื่นของแสงที่จะไม่ทำให้เกิด ปรากฏการณ์นี้ได้เลยไม่ว่าแสงจะมีความเข้มสูงสักเท่าไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้สร้างความฉงนให้กับนักวิทยาศาสตร์อยู่ระยะหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นผู้อธิบายได้เมื่อปี 1905 โดยอธิบายว่า : แสงประกอบด้วยอนุภาคที่เรียกว่าโฟตอน (photons) พลังงานของโฟตอนมีค่าเป็นสัดส่วนโดยตรงความถี่ของแสง ในการทำให้อีเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งซึ่งขึ้นกับ ชนิดของโลหะ เรียกว่าฟังก์ชันงาน (work function) ถ้าพลังงานของโฟตอนมากกว่านี้ก็จะสามารถทำให้อีเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะได้
|
|
|
22
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือนเรื่อง การแผ่รังสีของวัตถุดำ
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 01:20:46 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.20 น. ณ หอพัก
ค่าคำนวณ (P(T)/P(1000k))/(T^4/1000^4) กฎของสตีฟาน (Stefan’s law) ซึ่งกล่าวไว้ว่า พลังงานต่อหน่วยปริมาตรของทุก ๆ ความถี่ที่แผ่ออกมาจากวัตถุดำจะแปรผันตรงกำลังสี่ของอุณหภูมิ U = eซิกม่าร์T^4 เมื่อ ซิกม่าร์ คือ ค่าคงที่ของสตีฟาน = 5.67x10^-18 (v/m^2 k^4) e คือ ความสามารถในการแผ่รังสี ถ้าเป็นวัตถุดำจะมีค่าเท่ากับ 1 กฎของวีน (Wein’s law) กล่าวว่าวัตถุทุกชิ้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าองศาสมบูรณ์จะมีการแผ่คลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าออกมาเสมอ เมื่อวัตถุมีอุณหภูมิต่ำรังสีส่วนใหญ่ที่แผ่ออกมามีความถี่ อยู่ในย่านที่มนุษย์มองไม่เห็น
|
|
|
23
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: แมกซ์ แพลงค : Max Planck
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 01:04:05 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.03 น. ณ หอพัก
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ในปี ค.ศ.1885 มหาวิทยาลัยคีลได้ตกลงกับแพลงคเข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีในระหว่าง นี้แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับพลังงานเรื่องธรรมชาติของพลังงาน และเอนโทรปี (Entropy) และได้ส่งผลงานการค้นคว้า เกี่ยวกับธรรมชาติของพลังงานเข้าประกวดที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) และได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ.1889 เขาย้าย ไปสอนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินแทนกุลสตาฟ เคิร์กชอฟ ศาสตราจารย์ที่เสียชีวิตไป พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ แพลงคได้ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จนกระทั่งปี ค.ศ.1926
ในปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับ มอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงคพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำ การทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่ออกมา แพลงคพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียก ว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัม เสนอต่อสมาคมฟิสิกส์แห่งเบอร์ลิน เมื่อทฤษฎีของเขาเผยแพร่ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไรนัก
|
|
|
24
|
ฟิสิกส์ 2 / กลศาสตร์ควอนตัม / Re: การทดลองเสมือน ฟิสิกส์ 2000 เรื่อง พฤติกรรมประหลาดทางควอนตัม
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 10:45:33 am
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.44 น. ณ หอพัก
เรื่องพฤติกรรมประหลาดของควอนตัม วัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ จนถึงระดับโมเลกุล และอะตอม มันมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกับวัตถุทีมีขนาดใหญ่ทั่วไป และเรียกมันว่า ควอนตัมสามารถรวมคลื่น 2 กระบวนให้มีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นได้ ถ้ายอดคลื่นของกระบวนหนึ่งรวมกับยอดคลื่นของอีกกระบวนหนึ่ง หรือท้องคลื่นกระบวนหนึ่งรวมกับท้องคลื่นของอีกกระบวนหนึ่งก็ได้ เรื่องทดลองช่องแคบคู่ คลื่น แสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าคลื่นน้ำมากเราจึงไม่เห็นการกระเพื่อมขึ้น ลงเหมือนกับคลื่นน้ำ แต่จะเห็นเป็นริ้วรอยมืดและสว่าง ซึ่งก็คือการแทรกสอดแบบเสริมและหักล้างไปปรากฏบนฉากแทน เรื่องแทรกสอดของอนุภาค ถ้า ปืนกลส่ายไปมา ลูกกระสุนก็วิ่งผ่านช่องแคบกระจายออกเป็น 2 บริเวณ กระสุนที่วิ่งเข้าไปในช่องที่หนึ่ง ไปชนกับกระสุนที่วิ่งเข้ามาที่ช่องสอง และทำให้กระสุนกระเด็นออกไป เกิดเป็นช่องว่างขึ้น กำแพงบริเวณนั้นก็ไม่มีรอยกระสุน
|
|
|
25
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: วีดีโอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 1
|
เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 10:56:58 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 29 มกราคม 2554 เวลา 22.56 น. ณ ร้านเน็ต
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นกลุ่มของทฤษฎีทางฟิสิกส์ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีทั้งสองนี้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้อธิบายข้อเท็จจริงที่ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไม่ได้ประพฤติตนตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่โดยไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของผู้สังเกต แนวคิดหลักของทั้ง 2 ทฤษฎีนี้ คือ แม้ผู้สังเกตสองคนที่กำลังเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันนั้นอาจจะตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของเวลาและตำแหน่งได้ต่างกันสำหรับเหตุการณ์หนึ่งๆ แต่ทั้งสองจะยังคงสังเกตเห็นเนื้อหาของกฎทางฟิสิกส์ที่เหมือนกัน
|
|
|
26
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ไอน์สไตน์อธิบายความสัมพันธ์ของมวลกับพลังงาน
|
เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 10:08:25 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 29 มกราคม 2554 เวลา 22.08 น. ณ ร้านเน็ต
เป็นไปตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ที่มวลและพลังงานทั้งคู่อยู่ในสิ่งเดียวกัน แต่แสดงออกแตกต่างกันออกไป นับเป็นแนวคิดที่ไม่คุ้นเคยสำหรับสติปัญญาในระดับธรรมดา ยิ่งกว่านั้นสมการ อี เท่ากับเอ็มซียกกำลังสอง ในพลังงานนั้นทำให้เท่ากับมวล แล้วคูณด้วยความเร็วแสงยกกำลังสอง แสดงให้เห็นถึงมวลจำนวนเล็กๆ อาจจะเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลได้ หรือในทางกลับกันพลังงานมหาศาลก็เปลี่ยนเป็นมวลเพียงเล็กน้อยได้เช่นกัน มวลและพลังงานมีความสมมูล (มีค่าเท่ากัน) ตามสูตรที่อ้างถึงก่อนหน้านี้ ซึ่งค็อกครอฟท์กับวอลตันเคยทำการทดลองเร่งอนุภาคไว้เมื่อปี 1932
|
|
|
27
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: แผ่นใสทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อ.ดร. อรรถกฤต ฉัตรภูติ
|
เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 09:58:19 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 29 มกราคม 2554 เวลา 21.58 น. ณ ร้านเน็ต
เวลาตามแนวคิดของนิวตัน 1.เวลาและตำแหน่งเป็นฉากหลัง 2.เวลาเป็นอิสระจากทุกสิ่ง 3.เวลาสัมบูรณ์ เวลาตามแนวคิดของไอน์สไตน์ 1.สิ่งที่เรียงลำดับเหตุการณ์ 2.เวลาอันเป็นจิตวิสัย 3.สิ่งที่วัดได้โดยใช้นาฬิกา 4.ไม่ยอมรับเรื่องเวลาสัมบูรณ์ สัมพันธภาพของกาลิเลโอ กฎทางฟิสิกส์จะเหมือนกันสำหรับผู้สังเกต 2 คนที่เคลื่อนที่สัมพันธกันด้วยความเร็วคงที่ สิ่งที่ควรทราบ ในสัมพัธภาพแบบกาลิเลโอ ซึ่งรวมถึงในกลศาสตร์ของนิวตัน เราจะถือว่า เวลาจะมีค่าเท่ากัน และเดินด้วยอัตราที่เท่ากันหมด ในทุกๆผู้สังเกตซึ่งเราอาจบอกว่า เวลาเป็นสิ่ง สมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นปริมาณสัมพัทธ์
|
|
|
28
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ฟิสิกส์ของกาลเวลา
|
เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 09:53:30 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 29 มกราคม 2554 เวลา 21.53น. ณ ร้านเน็ต
เวลาตามแนวคิดของนิวตัน 1.เวลาและตำแหน่งเป็นฉากหลัง 2.เวลาเป็นอิสระจากทุกสิ่ง 3.เวลาสัมบูรณ์ เวลาตามแนวคิดของไอน์สไตน์ 1.สิ่งที่เรียงลำดับเหตุการณ์ 2.เวลาอันเป็นจิตวิสัย 3.สิ่งที่วัดได้โดยใช้นาฬิกา 4.ไม่ยอมรับเรื่องเวลาสัมบูรณ์
|
|
|
29
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: การทดลองเรื่องเวลาสัมพัทธ
|
เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 09:48:16 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 29 มกราคม 2554 เวลา 21.48 น. ณ ร้านเน็ต
สรุปได้ว่า ..... ไอสไตน์ ได้สร้างทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษบนสมมติฐาน 2 ข้อหรือเรียกว่า สัจพจน์ ดังนี้ 1. สัจพจน์สัมพันธ์ กฏของฟิสิกส์เป็นจริงทุกๆ กรอบเฉื่อย 2. สัจพจน์ของความเร็วแสง อัตราของเร็วของแสงในสูญญากาศที่วัดในกรอบเฉื่อย จะมีค่าเท่ากัน ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่จะเป็นเช่นใด
|
|
|
30
|
ฟิสิกส์ 2 / ทฤษฎีสัมพัทธภาพ / Re: ทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อ.สุวิทย์ ชวเดช
|
เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 09:37:00 pm
|
นาย สิวะสิทธิ์ ฤทธิ์มะหันต์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ-การจัดการ รหัส 115340441244-3 เลขที่ 33 sec.17 เรียนกับ อาจารย์จรัส บุณยธรรมา เข้ามาตอบกระทู้ วันที่ 29 มกราคม 2554 เวลา 21.36น. ณ ร้านเน็ต
อัตราเร็วแสงมีค่ามากกว่าอัตราเร้วของเสียงอย่างมากมาย -เดส์การ์ตส์ คิดว่าแสงมีค่ามีอัตราเร็วมากมายอย่างไม่สิ้นสุดหรืออนันต์ -กาลิเลโอ และบรรดานักวิทยาศาสตร์ในสมัยเดียวกันกับเขาต่างก็คิดกันว่า แสงมีอัตราเร็วจำกัดค่าหนึ่ง คุณสมบัติของแสง -อัตราเร็วของแสง186000ไมล์ต่อวินาที ในเวลา1วินาที แสงสามารถเดินทางได้ระยะเท่ากับระยะทางรอบโลกโดยรวมประมาณ7รอบหรือแสงสามารถเดินทางได้ระยะเท่ากับระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ93ล้านไมล์ในเวลา8นาที -แสงเป็นคลื่นเดียวกับคลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด ซึ่งเราเรียกคลื่นแบบนี้ทั้งหมดว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การทดลองของไมเคิลสันและมอร์ลีย์ 1.คลื่นจากแหล่งกำเนิดเดินทางกระทบกับกระจกเงากึ่งทะลุ 2.แสงaที่ทะลุผ่านในข้อ1.จะเดินผ่านไปกระทบกับกระจกเงาธรรมดาA ในขณะเดียวกันแสงbที่สะท้อนจากกระจกเงาในข้อ1.จะเดินไปกระทบกับกระจกเงาธรรมดาB โดยแสงทั้งสองส่วนนี้เทียบกับเครื่องบินลำAและB
|
|
|
|